วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

การค้นหาโดยใช้ Search Engine


                          วิธีการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine 

    ถ้าจะเปรียบ อินเทอร์เน็ต เป็นห้องสมุดอันกว้างใหญ่ ก็คงจะไม่ผิดนัก  เพราะในปัจจุบัน เครือข่ายอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้จัดว่า เป็นแหล่งข้อมูลอันใหญ่มหึมาระดับโลก เรียกว่า ค้นหาอะไรก็เจอ
   คุณเองก็คนหนึ่งใช่ไหมล่ะ ที่มักจะเข้าอินเทอร์เน็ตไปเพื่อหาข้อมูลโน่นนี่อยู่บ่อย ๆ เรียกว่าถ้าไม่รู้ว่าจะเริ่มหาจากตรงไหนดี ก็ต้องตรงรี่เข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ Search Engine กันก่อนเลยทีเดียว ซึ่ง Search Engine ที่เราคุ้นเคยกันดี ก็เช่น http://www.google.co.th, http://www.yahoo.com/ แต่ก่อนที่คุณจะเข้าไปค้นหาข้อมูล สิ่งสำคัญ คือ คุณจะทำอย่างไรให้ได้ข้อมูลที่ต้องการอย่างรวดเร็ว เราจึงมีคำแนะนำมาฝากกัน ดังนี้
  1เคล็ดลับอยู่ที่ Keyword เมื่อคุณอยากรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง คุณต้องเจาะจงเลือกคำค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการ เช่น ถ้าคุณจะค้นหาข้อมูลของสุนัขพันธุ์บางแก้ว คุณก็ควรจะใช้คำว่า สุนัขพันธุ์บางแก้วมากกว่าคำว่า สุนัขเฉย ๆ
    2. ตีวงแคบให้การค้นหา โดยไม่ใช้คำสามัญเพื่อค้นหา เช่น Man, Dog เพราะเป็นคำที่กินความกว้างมาก เมื่อคุณค้นหา เว็บ Search Engine จะแสดงผลออกมาเป็นทุกเว็บไซต์ที่มีคำเหล่านี้ ซึ่งจะมีเยอะมากเป็นหมื่นเป็นพันเว็บไซต์ ทำให้คุณไม่ได้ข้อมูลตามที่ต้องการจริง ๆ
    3. ใช้ AND เป็นตัวเชื่อม ควรจำกัดการค้นหาให้แคบลงด้วยการหาคำเฉพาะมาเชื่อมโยงกับคำที่ต้องการค้นหา โดยใช้คำว่า AND เป็นคำเชื่อม เช่น Cat AND Buy เว็บไซต์ก็จะแสดงผลการค้นหาออกมาเป็นเว็บไซต์ที่มีคำสองคำนี้ในเนื้อหาของเว็บ จะเป็นการช่วยให้การค้นหาของคุณจำเพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น แต่ในบางเว็บไซต์ เช่น http://www.google.co.th ได้ใส่คำว่า AND ให้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องใส่คำว่า AND เป็นตัวเชื่อม
   4. หาข้อมูลของกลุ่มคำได้ ด้วยเครื่องหมายอัญประกาศ ( “_ ”) และเครื่องหมายบวก (+) คุณสามารถหาข้อมูลของวลี หรือกลุ่มคำ ซึ่งเป็นคำติด ๆ กัน สองคำขึ้นไปได้ โดยใส่คำค้นหาลงในเครื่องหมายคำพูด เช่น  “Cute Cat” ผลที่ได้จะแสดงเป็นเนื้อหาที่มีคำว่า Cute Cat ติดกัน
   5. ใช้ OR เป็นตัวเชื่อม เมื่อต้องการนำผลการค้นหาของหลายคำมารวมกัน เช่น ต้องการหาที่เที่ยวในเชียงใหม่ และสงขลา ก็จะค้นหาโดยใช้คำว่า ที่ท่องเที่ยว เชียงใหม่ OR สงขลา
   6. ใช้ NOT ตัดข้อมูลที่ไม่ต้องการออก เป็นการจำกัดการค้นหาให้แคบลงอีกทางหนึ่ง เมื่อคุณไม่ต้องการให้คำใดแสดงในผลการค้นหา เช่น Cat Not Buy คุณก็จะได้ข้อมูลที่มีแต่คำว่า Cat โดยไม่มีคำว่า Buy
   7. ใช้ Advanced Search เพื่อค้นหาแบบละเอียด ซึ่งเป็นบริการจากทางเว็บไซต์ Search Engine ทั่วไป โดยการค้นหาในลักษณะนี้จะช่วยให้การค้นหาของคุณได้ข้อมูลที่ต้องการ และจำเพาะเจาะจงจริง ๆ ซึ่งคุณสามารถกำหนดค่าต่าง ๆ ในการค้นหาได้เอง เช่น คำที่กำหนดให้แสดง หรือไม่แสดง, ภาษาที่ต้องการให้แสดง, ชนิดของไฟล์ที่ค้นหา หรือว่าจะเป็นชื่อโดเมนที่ต้องการ เช่น .com, .net ฯลฯ เป็นต้น
            ารค้นหาข้อมูลด้วยเว็บไซต์ค้นหานั้น เพื่อให้ขอบข่ายของการค้นหาแคบเข้า สามารถค้นหาได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น จะต้องใช้เว็บไซต์การค้นหาเข้าช่วย เช่น


การค้นหาข้อมูลด้วย Basic Search จากเว็บไซต์ www.siamguru.com
            Basic Search คือ เครื่องมือในการค้นหาว็บไซต์ ทำหน้าที่ในการให้บริการค้นหาข้อมูล (Search Engine) โดยเน้นเรื่องความสามารถในการค้นหาข้อมูลภาษาไทยบนอินเทอร์เน็ต  มีความสามารถเทียบเท่าเสิร์ชเอ็นจิ้นชื่อดังจากต่างประเทศ  โดยการค้นหาจะเป็นแบบค้นหาข้อมูลจากทุกคำของข้อมูลจริง (Full Text Search) ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษจากเว็บเพจจำนวนหลายแสนหน้า  มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเว็บเพจที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมาจัดทำดัชนี (index) โดยอัตโนมัติ ผสมกับการจัดแยกหมวดหมู่อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วมากที่สุด
            เว็บไซต์ www.siamguru.com แบ่งการค้นหาเป็น 4 รูปแบบคือ
คำแนะนำในการใช้ Basic Search

  • ช่องค้นหา เป็นช่องป้อนข้อความที่เป็นเงื่อนไข สำหรับกำหนดคำ/ข้อความที่เป็นเงื่อนไขในการค้นหา
  • คำแนะนำพร้อมตัวอย่างการใช้งาน เป็นข้อความที่อยู่ภายใต้ช่องค้นหา เพื่อแนะนำการใช้งาน Search Engine อย่างง่าย พร้อมตัวอย่างการใช้งาน
  • ปุ่ม "Go" ปุ่มสำหรับสั่งให้ทำการค้นหา

กลับไปข้างบน
การค้นหาด้วย Super Search
            Super Search เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตอีกประเภทหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับ Basic Search อยู่แล้ว แต่ต้องการค้นหาข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตรงความต้องการมากขึ้นกว่าที่จะสามารถทำได้ใน Basic Search ด้วยวิธีการสร้างเงื่อนไขการค้นหาขึ้น ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจกว่าใน Basic Search ในขณะเดียวกันการค้นหาแบบ Super Search ก็จะมีความซับซ้อนในการใช้งานด้วยเช่นกัน

  • ข้อความแบบมีเงื่อนไข เป็นช่องสำหรับกำหนดข้อความที่เป็นเงื่อนไขในการค้นหา
  • เสียงคล้าย เป็นช่องระบุว่าต้องการคำที่ออกเสียงคล้ายคลึงกันได้
  • คำแนะนำพร้อมตัวอย่างการใช้งาน เป็นข้อความที่อยู่ภายใต้ช่องค้นหา เพื่อแนะนำการใช้งาน Search Engine อย่างง่าย พร้อมตัวอย่างการใช้งาน
  • ปุ่ม "Go" ปุ่มสำหรับสั่งให้ทำการค้นหา
เงื่อนไขที่ใช้ใน Super Search
  • การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "AND"
    รูปแบบการใช้งาน : A and B โดย A , B เป็น คำหลัก (Keywords)
    อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "and" ก็ต่อเมื่อ ต้องการให้ปรากฏคำหลัก A และ B ในหน้าเว็บเพจเดียวกัน หมายถึง การค้นหาคำหลักที่มีทั้ง A และ B
    Example 1: พิมพ์ ไทย and จีน ลงในช่องข้อความแบบมีเงื่อนไข จะหมายถึง ค้นหาคำว่า ไทย และ จีน โดยผลลัพธ์จากการค้นหา จะปรากฏคำว่า "ไทย" และ "จีน" อยู่ในหน้าเว็บเพจเดียวกัน
  • การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "OR"
    รูปแบบการใช้งาน : A or B
    อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "or" ก็ต่อเมื่อ ต้องการค้นหาคำหลัก A หรือ B โดยผลลัพธ์จากการค้นหาจะต้องปรากฏคำหลัก A หรือ B อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ทั้งสองคำ
    Example 2: พิมพ์ กีฬา or ดนตรี ลงในช่องข้อความแบบมีเงื่อนไข Super Search จะค้นหาข้อมูลที่ปรากฏคำว่า "กีฬา" หรือ "ดนตรี" ในหน้าเว็บเพจ
  • การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "NOT"
    รูปแบบการใช้งาน : A not B
    อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "not" ก็ต่อเมื่อ ต้องการค้นหา A แต่ไม่ต้องการให้ปรากฏ B อยู่ในหน้าเว็บเพจ
    Example 3: พิมพ์ กีฬา not ฟุตบอล จะหมายถึง การค้นหาเว็บเพจที่ปรากฏคำว่า "กีฬา" แต่ต้องไม่ปรากฏคำว่า "ฟุตบอล"
  • การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "NEAR"
    รูปแบบการใช้งาน : A near B
    อธิบาย : หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องปรากฏทั้ง A และ B และทั้งสองคำนี้จะต้องปรากฏอยู่ใกล้ๆกัน รูปแบบการค้นหาแบบนี้จะคล้ายกับการใช้เงื่อนไข "AND" แต่ต่างกันเพียง คำทั้งสองจะต้องปรากฏอยู่ห่างกันไม่เกิน 10 คำ ซึ่งเราจะเห็นว่าการใช้เงื่อนไข NEAR จะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้เงื่อนไข "AND" ในกรณีที่คำทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกัน โดยคาดหวังว่าคำทั้งสองน่าจะปรากฏอยู่ใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่างเช่นเราค้นหา วัด near อยุธยา ผลลัพธ์ที่ออกมาน่าจะได้หน้าเว็บเพจที่คำว่า "วัด" และ "อยุธยา" ที่ทั้งสองคำนี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกัน มากกว่า วัด and อยุธยา ที่ปรากฏคำทั้งสองคำนี้ในหน้าเว็บเพจแต่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้
    Example 4: พิมพ์ วัด near อยุธยา หมายถึง การค้นหาเว็บเพจที่มีทั้งคำว่า วัด และ อยุธยา อยู่ในหน้า เว็บเพจเดียวกัน และคำทั้งสองน่าจะปรากฏอยู่ใกล้เคียงกัน
  • การค้นหาโดยใช้เครื่องหมายวงเล็บ "(   )"
    รูปแบบการใช้งาน : (A * B) โดย A และ B เป็นคำที่ต้องการค้นหา และ สัญญลักษณ์ * แทนเงื่อนไข and , or ,not และ near
    อธิบาย : การใช้เครื่องหมายวงเล็บคร่อมข้อความที่เป็นเงื่อนไข หมายถึง การเจาะจงให้ประมวลผลข้อความที่อยู่ภายในวงเล็บก่อน
    Example 5: พิมพ์ (การเมือง or เศรษฐกิจ) near รัฐสภา หมายถึง การสั่งให้ค้นหาหน้าเอกสารเว็บเพจที่ปรากฏคำว่า "การเมือง" หรือ "เศรษฐกิจ" และ จะต้องปรากฏอยู่ใกล้เคียงกับคำว่า "รัฐสภา" ด้วย

Directory Search Engines
จัดทำโดยมนุษย์ 
โดยนำข้อมูลที่ปรากฏใน Web ต่างๆ มาจัดเป็นหมวดหมู่ เป็นเรื่องๆ   ภายใต้แต่ละเรื่อง จะทำการแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ  ตามลำดับ จากเรื่องทั่วไป ไปสู่เรื่องที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น  
โครงสร้างของการจัดหมวดหมู่จะถูกเตรียมไว้ก่อน จากนั้นจึงนำเว็บไซต์ต่างๆ ที่รวบรวมมาไปจัดเก็บตามหมวดหมู่ที่จัดทำไว้ 
ข้อดีของ Directory คือ
การแบ่งหมวดหมู่ที่ชัดเจน  ช่วยนำทางในการเข้าถึงข้อมูล  จากประเด็นกว้างๆ ที่ยังไม่ชัดเจน  ไปสู่ประเด็นเรื่องที่ชัดเจน ผู้ใช้จะเริ่มคาดเดาได้ว่า เรื่องที่ต้องการจะจัดเก็บไว้ภายใต้หมวดหมู่ย่อยใดในการค้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องที่ค้น ไม่จำเป็นต้องรู้คำศัพท์เฉพาะมาก่อน
ปัญหาในการจัดทำหมวดหมู่
การจัดหมวดหมู่อาจขึ้นอยู่กับความรู้ของผู้จัดทำ และผู้ใช้  ทัศนคติของผู้จัดทำ และผู้ใช้
การกำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์ของหมวดหมู่ไม่ชัดเจน ไม่สมเหตุสมผล โครงสร้างหมวดใหญ่ หมวดย่อยมีความซ้ำซ้อน หรือคาบเกี่ยวกัน เรื่องเดียวกันแต่อยู่ได้หลายที่หลายระดับ อาจสร้างความสับสนให้กับผู้ค้นได้ ข้อด้อยของ Directory คือ
ในกรณีที่ผู้ค้นมีความคุ้นเคยกับประเด็นเรื่องที่ต้องการ ทราบแล้วว่าสารสนเทศที่ต้องการจัดเก็บไว้ที่หมวดหมู่ใด โดยเฉพาะหมวดหมู่ย่อยที่อยู่ในระดับลึก ผู้ใช้ต้องเสียเวลาในการเลือกเข้าไปทีละระดับ จนถึงระดับที่ต้องการ ไม่สามารถที่จะเข้าถึงระดับของหมวดหมู่ที่ต้องการได้โดยตรง ผู้จัดทำจึงแก้ปัญหาด้วยการเพิ่ม Free-text search box เพื่อพิมพ์คำค้นเข้าถึงหมวดหมู่ย่อยที่ต้องการได้โดยตรง  เนื่องจาก Directory จัดทำดรรชนีโดยมนุษย์ ขนาดของฐานข้อมูลจะมีขนาดเล็กกว่า Search Engines ทั่วไป  และทำดรรชนีในระดับกว้าง คือให้คำแทนเนื้อหาทั้งหมดของเว็บไซต์ เมื่อเรียกดูข้อมูลจะเรียกไปที่หน้า Home page   ขณะที่ Search Engine ทั่วไป จะจัดทำดรรชนีในระดับลึก คือจัดทำให้กับทุกหน้าของเว็บไซต์ และการเรียกจะเรียกไปที่หน้าที่มีคำดรรชนีนั้นโดยตรง
ข้อเด่นของ Directory คือ
เหมาะในการค้นหาเรื่องทั่วๆ ไปมากกว่าเรื่องที่มีความเฉพาะเจาะจง   
ตัวอย่าง
วิธีใช้  
1. ผู้ใช้สามารถพิมพ์คำค้นแล้วคลิกเลือกแท็บ Directory
2. คลิกเลือกเนื้อหาไปตามลำดับหัวข้อ



Meta Search Engines
Search Engines ประเภทนี้ อาจจัดได้ว่าไม่ใช่ Search Engines ที่แท้จริง เนื่องจากไม่ได้ทำการสืบค้นข้อมูลเอง  แต่จะส่งต่อคำถามจากผู้ใช้ (query) ไปให้ Search Engines ตัวอื่น ผลการค้นที่ได้จึงแสดงที่มา (ชื่อของ Search Engines) ที่เป็นเจ้าของข้อมูลไว้ต่อท้ายรายการที่ค้นได้แต่ละรายการ
ข้อดีของ Search Engines ประเภทนี้คือ
สามารถค้นเรื่องที่ต้องการได้จากแหล่งเดียว ไม่ต้องเสียเวลาไปค้นจากหลายที่ โดย Search Engines จะตัดข้อมูลที่มีความซ้ำซ้อนกันออกไป  เหมาะที่จะใช้ในกรณีที่ต้องการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการให้ครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจาก Search Engines เพียงตัวเดียวอาจรวบรวมข้อมูลได้ไม่ครอบคลุมทั้งหมด หรือ Search Engines อาจไม่ได้ทำดรรชนีให้ และที่สำคัญช่วยประหยัดเวลาในการค้นให้กับผู้ใช้
ข้อด้อยที่ต้องคำนึงถึง คำค้นที่ Search Engines แต่ละตัวใช้มีโครงสร้างประโยค (Syntax) ของตนเองซึ่งแตกต่างกันไป แต่ผู้ใช้จะใส่คำค้นที่  Multi Search Engines เพียงคำค้นเดียว (Query) ในกรณีที่คำค้น มีการสร้างสูตรการค้นที่ซับซ้อน หรือใช้ภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ  อาจให้ผลการค้นไม่เที่ยงตรงได้ เนื่องจากไม่เข้าใจคำสั่งที่แท้จริง  
ตัวอย่าง Meta Search Engines
Dogpile (http://www.dogpile.com)
 Metacrawler (http://www.metacrawler.com)
ProFusion (http://www.profusion.com)
 Search (http://www.search.com)
 SurfWax (http://www.surfwax.com)
 Ixquick (http://www.ixquick.com)
เว็บไซต์ที่ให้บริการ เช่น  www.metacrawler.com,




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น