กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบางประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีกฎหมายควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต
ก็ยังไม่สามารถควบคุมภัยล่อลวงต่าง ๆ
จากสื่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเด็ดขาดเต็มที่โดยเฉพาะควบคุมดูแลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นก็ยังเป็นปัญหา
โดยเฉพาะการเผยแพร่สื่อสารลามกหรือบ่อนการพนัน
ซึ่งปัญหาดังกล่าว นอกจากจะเกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลในการเข้าถึงข้อมูล
การก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน
ยังอาจจะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอีกด้วย อีกทั้งลักษณะพิเศษของข้อมูลต่าง ๆ
ที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่มีลักษณะเป็นใยแมงมุม
ซึ่งระบบกระจายความรับผิดชอบไม่มีศูนย์กลางของระบบ
และเป็นเครือข่ายข้อมูลระดับโลกยากต่อการควบคุม และเป็นสื่อที่ไม่มีตัวตน
หรือแหล่งที่มาที่ชัดเจน ทั้งผู้ส่งข้อมูล
หรือผู้รับข้อมูล
ดังนั้นกฎหมายที่จะมากำกับดูแล หรือควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต
จะต้องเป็นกฎหมายลักษณะพิเศษ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
แต่ความแตกต่างในระบบการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ในแต่ละประเทศยังเป็นปัญหาอุปสรรค
ในการร่างกฎหมายดังกล่าวซึ่งปัจจุบันยังไม่ปรากฏผลเป็นกฎหมายยังคงอยู่ในระยะที่กำลังสร้างกฎเกณฑ์กติกาขึ้นมากำกับบริการอินเทอร์เน็ต
ประเทศไทยกับการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยเริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 โดยคณะ กรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติเรียก (กทสช)
ได้ทำการศึกษาและยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ ได้แก่
1.
กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Transactions
Law)
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ
อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ
ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
6-2
2.
กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Signatures
Law)
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ
ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา
อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ
เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น
ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง
และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure
Law)
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ
สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน
สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ
ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา
78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน
และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน
และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้
4.
กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection
Law)
เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ซึ่งอาจถูกประมวลผล
เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี
จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล
ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว
เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ 5.
กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime
Law)
เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ
และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
6.
กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer
Law)
เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน
และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน
และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
6-2
แบบฝึกหัด
ตอบลบ1. คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเป็นชอบให้จัดทำโครงการกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศเมื่อใด
ก.15 ธันวาคม 2541 ข.20 สิงหาคม 2541
ค.19 ธันวาคม 2542 ง.31 มกราคม 2541
2. กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ
ก.Electronic Signatures Law
ข.Electronic Transactions Law
ค.ถูกทั้ง ก. และ ข.
ง.ไม่มีข้อใดถูก
3. คณะกรรมการไอทีแห่งชาติทำหน้าที่ใด
ก.ทำหน้าที่พัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข.ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ค.ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ง.ทำหน้าที่โอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
4. กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศมีทั้งหมดกี่ฉบับ
ก.2 ข.4 ค.6 ง.4
5. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก.2 ข.4 ค.6 ง.4
6. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ก.เป็นกฎหมายหนึ่งในหกฉบับที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข.เป็นการจัดให้มีระบบวิเคราะห์ความเสียงแบะการให้บริการรับรอง
ค.เป็นมาตรการสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ง.ถูกทุกข้อ
7. คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบต่อมาตรการเร่งด่วนเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมทางอินเทอร์เน็ตเมื่อใด
ก.15 ธันวาคม 2541 ข.20 กรกฎาคม 2544
ค.19 ธันวาคม 2542 ง.31 มกราคม 2541
8. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับมาตรการทางสังคม
ก.มาตรการเร่งด่วนของคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ
ข.การดำเนินการของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ค.มาตรการระยะยาวของคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ
ง.ถูกทุกข้อ
9. Buffer Overflow คือ
ก.ผู้ที่มีความสนใจด้านคอมพิวเตอร์ที่ลึกลงไปในส่วนของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ข.เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบได้มากที่สุด
ค.บุคคลที่บุกรุกเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นเพื่อทำลายข้อมูลที่สำคัญ
ง.กลุ่มบุคคลที่จัดอยู่ในพวก Cracker
10. ข้อใดคือบัญญัติ 10 ประการ ด้านความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต
ก.ตั้งรหัสผ่านที่ยากแก่การเดา
ข.เปลี่ยนรหัสสม่ำเสมอ เช่น ทุก 3 เดือน
ค.ปรับปรุงโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลา
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย
1.ก 2.ข 3.ค 4.ค 5.ข
6.ก 7.ข 8.ง 9.ข 10.ง