วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การค้าอิเล็กทรอนิกส์

การค้าอิเล็กทรอนิคส์

ความหมายของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายรวมถึงการค้าทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่หลายคนอาจจะนึกถึงเฉพาะการค้าบนเว็บอย่างเดียว แต่จริง ๆ แล้วการค้าขายโดยผ่านทางเครื่องแฟกซ์ โดยเราแฟกซ์เอกสารขายตรงออกไป และลูกค้าแฟกซ์ใบสั่งซื้อเข้ามาก็ถือเป็น E-commerce หรือการขายตรงทางทีวียิ่งชัดเจนมากขึ้น เช่น การเสนอขายสินค้าผ่านทางทีวีก็ถือเป็นแบบ E-commerce ได้เช่นกัน (ศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2544)จะเห็นได้ว่า   การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การประกอบธุรกิจ ซื้อขายสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งที่นิยมได้แก่อินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องเห็นหน้ากัน และสามารถติดต่อโอนเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์การค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการค้าแบบ E-business หรือการประยุกต์อินเทอร์เน็ตในการดำเนินธุรกิจ โดยทั่วไปแล้วหมายถึงการค้าแบบ "ซื้อมา-ขายไป" ในส่วนของหน้าร้าน (front office) ซึ่งมีหลายแบบ ได้แก่
          1. การค้าระหว่างองค์กรธุรกิจกับองค์กรธุรกิจ (Business to Business (B-to-B)) เป็นการค้าขนาดใหญ่ระหว่างองค์กรกับองค์กร ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการสินค้าส่งออก นำเข้าหรือค้าส่งที่ต้องส่งสินค้าเป็นล็อต (lot) ขนาดใหญ่ ซึ่งการชำระเงินจะผ่านระบบธนาคาร เช่น T/T, L/C หรือเช็ค เป็นต้น
          2. การค้าระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer (B-to-C)) เป็นการค้าปลีกไปยังผู้บริโภคทั่วโลก หรือภาย ในท้องถิ่นของตน ในส่วนนี้อาจจะรวมการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหลหรือค้าส่งขนาดย่อยไว้ด้วย ซึ่งการชำระเงินโดยส่วนใหญ่จะเป็นการชำระผ่านระบบบัตรเครดิต แต่อย่างไรก็ตาม การค้าแบบ B-to-C นี้มักทำให้เกิดกาค้าแบบ B-to-B ในอนาคตได้ และหลายบริษัท มักทำกิจกรรมสองอย่างนี้ในคราวเดียวกัน
          3. การค้าระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน (Consumer to Consumer (C-to-C)) เป็นการค้าปลีกระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยกัน เช่น อาจจะเป็นการขายสินค้าหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้งานแล้ว รวมทั้งการเปิดประมูลเพื่อขายข้าวของเครื่องใช้ของตนเองด้วย การแบ่งกลุ่มข้างต้นนี้ ถือเป็นแนวทางคร่าว ๆ ให้เราได้ตัดสินใจว่า จะเลือกเดินในทางใดในการทำธุรกิจบนเว็บ ซึ่งถือเป็นการเลือกคู่ค้าไปในตัว ความจริงแล้วเราอาจจะแบ่งกลุ่มได้มากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่นำมาใช้ในการจัดรูปแบบ เช่น หากทำการค้าขายกับองค์กรของรัฐบาลอาจจะเรียกเป็น Business-to-Government ก็ได้ หรือหากค้าขายกับองค์การที่ไม่ค้ากำไรก็อาจเรียกเป็นการค้าแบบ Business-to-NGO--Non Government Organization หรืออาจจะขายตรงไปยังผู้ค้าส่งก็เรียกว่า Business-to-Wholesaler เป็นต้น

การทำธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-business)

          การทำธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-business) หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ หรืออินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง โดยมีการประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมทั้งในส่วนของหน้าร้าน (front office) หรือเว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อค้าขายและหลังร้าน (back office) หรือระบบจัดการภายใน ไม่ว่าจะเป็นระบบคลังสินค้า ระบบบัญชี ระบบการเงินหรือแม้แต่ระบบการผลิต รวมทั้งการเชื่อมต่อกับระบบการค้ากับองค์กรภายนอกด้วย อาทิเช่น กับธนาคารโดยใช้ระบบ e-Banking หรือ suppliers โดยผ่าน ระบบ e-supply chain ทั้งนี้โดยอาศัยสื่อทั้งในรูปของ Internet และ Extranet และ/หรือ Virtual Private Network--VPN ที่ทำงานเฉพาะกลุ่มที่มีการรักษาความปลอดภัยเป็นพิเศษ (ศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2544)

จุดประสงค์หลักของการนำเอาระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานด้านต่าง ๆ หรือในทุกส่วนของ กระบวนการธุรกิจนี้เพื่อ
          1. ลดต้นทุน การลดต้นทุนในการติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมล์แทนการใช้โทรสาร ลดค่าพิมพ์แคตตาล็อคสินค้า ลดค่าออกใบเสร็จรับเงิน ลดเวลาการตัดสต็อกในคลังสินค้า ประหยัดเวลาในการบันทึกบัญชี และลดค่าใช้จ่ายในการวางแผนการผลิต
          2. ประหยัดเวลา ทั้งนี้เพราะทุกอย่างสามารถทำงานได้เอง โดยผ่านเครือข่ายโดยอัตโนมัติทำให้กระบวนการบริหารงานเป็นไปอย่าง รวดเร็ว ไม่ต้องใช้คนมางานที่ซ้ำซ้อนเหมือนอย่างที่ผ่านมาแต่อย่างใด
          3. เพิ่มประสิทธิภาพ เนื่องจากการทำงานได้รวดเร็วขึ้น และทำได้ถูกต้องแม่นยำ เพราะลูกค้าเป็นผู้ป้อนข้อมูลต้องสั่งซื้อสินค้าเพียงคนเดียว และจุดเดียว ซึ่งข้อมูลทั้งหมดสามารถทำไปออกใบเสร็จรับเงินได้ บันทึกบัญชีได้ หรือสั่งซื้อวัตถุดิบได้ทั้งหมด
          4. ขยายตลาด ทั้งนี้เพราะการต่อเชื่อมระบบอินเทอร์เน็ตจักทำให้เราสามารถนำเสนอสินค้าออกสู่ตลาดโลกได้อย่างรวดเร็วขึ้น เพราะจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 400 ล้านคน เป็นนักธุรกิจมากกว่า ร้อยละ 80
 การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีแนวทางในการดำเนินกลยุทธ์ที่หลากหลายมาก ทั้งนี้เพราะการทำธุรกิจบนเครือข่าย แห่งนี้ลงทุนต่ำและอาศัยความคิดสร้างสรรค์ (creative) หรือไอเดียเป็นหลัก ฉะนั้นจึงมีธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมายตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิเคราะห์ เราพบว่ารูปแบบการค้าบนอินเทอร์เน็ตหรือ e-Business Model สามารถแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ คือ (ศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2544)
           1. แบบซื้อมา-ขายไป (e-business store font) การค้าแบบซื้อมา-ขายไป เป็นการค้าขายแบบตรงไปตรงมา คือเป็นแหล่ง ให้ผู้บริโภคมาจับจ่ายซื้อของโดยทั่วไปแล้วกลุ่มเป้าหมายมักจะอยู่ในวงจำกัดตามลักษณะของสินค้าที่ขาย ส่วนสิ่งที่เสนอขายกันนั้น ได้แก่ สินค้า บริการ รวมทั้งเนื้อหาข้อมูลต่าง ๆ
           2. แบบสื่อกลางด้านข่าวสาร (infomediary) การค้าแบบสื่อกลางด้านข่าวสาร โดยไม่มีการซื้อขายสิ่งใด นอกจากเป็นศูนย์กลางในการอำนวยความสะดวกของการขายและให้บริการต่าง ๆ ให้ผู้ซื้อผู้ขายมาพบกัน สำหรับธุรกิจนี้ใช้วิธีการเสนอขายดังนี้ การให้บริการความเป็นศูนย์รวมของสรรพสิ่ง หรือที่เราเรียกกว่า "พอร์ทัล" (portal)
           3. แบบสื่อกลางด้านความไว้ใจ (trust intermediary) การค้าแบบสื่อกลางด้านความไว้ใจเป็นการให้บริการเพื่อสร้างความไว้วางใจกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งในการให้บริการจักมีการสร้างสิ่งแวดล้อมหรือระบบรักษาความปลอดภัยหรือระบบรักษาความปลอดภัย
           4. แบบขายเครื่องมือในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-business enabler) การค้าแบบขาย เครื่องมือในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการค้าขายเครื่องมือทำการค้าบนเว็บที่อำนวยความสะดวกและพร้อมใช้งานได้เลย รวมทั้งให้ความไว้วางใจว่าการค้าบนเว็บเป็นไปอย่างราบรื่น และปลอดภัย การเสนอขาย ได้แก่ระบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบออนไลน์แคตตาล็อค ระบบตะกร้า ระบบการชำระเงิน และติดตามผลการสั่งซื้อ เป็นต้น
           5. การให้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน (infrastructure providers) การให้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เป็นการค้าสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อสนับสนุนธุรกรรมของการค้าบนเว็บเช่น ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต การรับสร้างเว็บเพจ การให้เช่าโฮสต์ หรือแม้แต่การจัดส่งสินค้าให้

e-Marketplace และแนวโน้มการค้าบนเว็บในอนาคต

           การสร้างตลาดบนเว็บ หรือที่เรียกว่า e-Marketplace ถือเป็นแนวโน้มของการค้าบนเว็บ แต่อย่างไรก็ตาม โดยความจริงแล้วก็ไม่ได้แตกต่างกับการสร้างตลาดทำการค้าขายปกติแต่อย่างใด จะต่างกันก็ตรงที่ว่าสร้างขึ้นมาได้โดยอาศัยเพียงการสร้างภาพเท่านั้น ไม่ต้องมีตึกแถว ไม่ต้องมีคอมเพล็กใหญ่โต และใช้เงินลงทุนที่ต่ำมากกว่าการสร้างตลาดจริง ๆ หลายเท่าตัวทีเดียวการสร้างตลาดบนเว็บ ไม่ได้แตกต่างจากการสร้างห้างสรรพสินค้าออนไลน์ทั่วไปนัก (ความจริงแล้ว ห้างออนไลน์เหล่านั้น ก็คือ e-Marketplace เช่นกัน) ที่ผู้ที่เป็นเจ้าของห้างจำเป็นต้องวางผังของห้องให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของหมวดหมู่สินค้า ซึ่งต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า การใช้กลยุทธ์ในเชิงรุก คือมุ่งหาผู้ขายสินค้าที่เราตั้งใจไว้จะให้เป็นส่วนหนึ่งของตลาดที่สร้างขึ้น เพื่อให้ครบองค์ประกอบหลัก เพราะหากปล่อยไปอาจจะทำให้เรามีร้านค้าในหมวดสินค้าหมวดใดหมวดหนึ่งมากเกินไป ฉะนั้นหากท่านเป็นเจ้าตลาดก็ควรจะต้องแสวงหาสินค้าต่าง ๆ เข้ามาเอง มากกว่านั่งรอให้ผู้ขายมาเปิดร้านสำหรับเทคนิคในการให้เจ้าของตลาดบนเว็บทั้งหลาย ได้จำนวนผู้ขายจำนวนมากเข้ามา ร่วมด้วย คือ การบริการฟรี หรือหากเก็บเงินก็เก็บกันแบบถูก ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ขายรู้สึกไม่ต้องเสี่ยงมากหากขายสินค้าไม่ได้ แต่ก็ต้องระวัง เพราะถึงจะฟรีอย่างไรก็ตาม เป้าหมายสูงสุดของผู้ขายก็คือ พวกเขาต้องขายสินค้าได้ เพราะหากขายไม่ได้ต่อให้ฟรีก็ปิดร้านหนีเช่นกัน หรือบางร้านไม่ปิด แต่ใช้วิธีปล่อยทิ้งร้านไม่ดูแลกก็อาจจะเป็นปัญหาต่อไปได้ การสร้างตลาดบนเว็บขึ้นมา มีข้อควรพิจารณาคือ ผู้ที่จะ เข้าไปร่วมค้าในตลาดใดตลาดหนึ่งก็ต้องพิจารณาเงื่อนไขให้ครอบคอบว่าจะได้หรือเสียมากกว่ากัน แต่อย่างไรก็ดีการค้าร่วมในตลาด ย่อมมีผลดีตรงที่ว่าผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าสินค้ามาสำรวจ หรือค้นหาที่เว็บไซต์ที่เป็น e-Marketplace เพียงจุดเดียว และเปรียบเทียบสินค้า ราคาและคุณภาพได้โดยง่าย ทำให้ผู้เสนอขายทุกรายมีโอกาสที่จะขายสินค้าได้ หากสินค้าของตนมีคุณลักษณะที่ตรงกับความต้องการ สำหรับเว็บไซต์ e-Marketplace ได้แก่ www.eceurope.com หรืออย่าง www.verticalnet.com ซึ่งเป็นศูนย์รวมของ e-Marketplace ของสินค้าต่าง ๆ ทั่วโลก

ปัจจัยที่ทำให้การค้า e-Commerce ไม่ประสบผลสำเร็จ

           ในการประกอบธุรกิจแบบ e-commerce นั้นมีทั้งประสบผลสำเร็จ และล้มเหลว ในที่นี้จะกล่าวถึงเว็บที่ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก (ศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2544)
           1. การลอกเลียนแบบ  เป็นการทำธุรกิจตามคนอื่นที่ทำอยู่ก่อนแล้ว เห็นทำเว็บก็ทำตาม เช่น บรรดาพอร์ทัลไซต์ทั้งหลาย ซึ่งที่เห็นหลายรายก็ทำตามทุกอย่าง ไม่มีส่วนใดต่อยอดให้ดีขึ้นเลยก็มี ซึ่งความจริงแล้วการลอกเลียนแบบอาจจะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน เพียงแต่ใช้หลักการเดียวกันเท่านั้น หรือก็อาจจะใช้กับกลุ่มเป้าหมายเดียวกันได้ หากกลุ่มเป้าหมายนั้นมีจำนวนมากพอ หรือมากขนาดที่ เว็บไซต์ที่มีอยู่เดิมไม่สามารถที่จะรองรับได้
           2. การอยู่กับความฝัน เป็นการอาศัยแนวความคิดแต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติให้เห็นจริง หรือทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ แนวคิดแรก ยังไม่ได้ทำให้เป็นจริงเลย ก็ไปทำแนวคิดที่สองแล้วเป็นอย่างนี้เรื่อยไป อย่างนี้ถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จ
           3. ทำเว็บไซต์ที่วิจิตรสวยงาม  การทำเว็บไซต์ให้สวยงาม เน้นความเลิศหรูจนลืมแก่นแท้ของความต้องการผู้ใช้เว็บหรือกลุ่มเป้าหมายไป กล่าวคือไม่ให้ความสำคัญแก่กระบวนการที่จะให้บริการลูกค้าผู้ใช้เว็บอย่างมีประสิทธิภาพ การได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และรวดเร็วจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งเราต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ก่อนที่จะไปตกแต่งโฮมเพจให้สวยงาม
           4. ทำเว็บไซต์แบบไร้ทิศทางการทำเว็บไซต์ที่นึกอะไรได้ก็ทำไปเรื่อยเปื่อย ไม่ได้นึกถึงความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์กัน อันจะก่อให้เกิดคุณค่าสูงสุดแก่ผู้ใช้งาน การทำเว็บไซต์ที่ดีนั้น หลักการคือต้องทำให้เกิดการเสริมกัน หรือ synergy คือทุกอย่างต้องเกื้อหนุนและมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน หรือในลักษณะครบวงจร (one-stop service) มาที่นี่ที่เดียวได้ครบหมดทุกอย่าง
           5. ไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอการไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอ คือเป็นประเภท ที่ได้แต่คิด แต่อาจจะไม่ได้มองว่า ระบบหรือเทคโนโลยีสนับสนุนหรือไม่ พอทำไปแล้วครึ่งทางถึงได้รู้ว่า มันไม่มีซอฟต์แวร์หรือเครือข่ายสนับสนุนได้อีกประการหนึ่งก็คือ ไม่ได้จัดหาทั้งคน ทั้งระบบ ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เตรียมพร้อมไว้ สำหรับการรองรับการขยายตัว ทำแล้วขยายตัวไม่ได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการขยายตัวเพื่อเข้าสู่จุดคุ้มทุนและทำกำไร ซึ่งในสภาพเช่นนี้ไม่มีทางเลือกที่ท่านจะประสบความสำเร็จ
           6. ทำงานได้ทีละอย่างการทำงานได้ทีละอย่าง กล่าวคือไม่สามารถจัดการกับการงานได้พร้อม ๆ กันหลายงาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการบริหารโครงการธุรกิจบนเว็บที่เราต้องทำงานได้หลาย ๆ รูปแบบในเวลาเดียวกัน จะทำที่ละเรื่องเมื่อเสร็จแล้วค่อยทำอีก เรื่องนี้จะไม่ทันกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาโดยตลาดจากทุกมุมโลก
           7. คิดเล็กเกินไป การดำเนินธุรกิจบนเว็บ นั้นถ้าหากคิดเล็กเกินไป ทำให้โครงการที่ทำออกมาไม่สามารถที่จะต่อยอดและขยายตัวออกไปได้ ทำให้ไม่สามารถจะสร้างยอดขายจำนวนมากให้คุ้มทุนได้ ทั้งนี้เพราะตลาดบนเว็บนั้นมันมีขนาดใหญ่มหาศาล ดังนั้นต้องคิดการใหญ่ มีการกำหนดทิศทางที่จะเติบโตไว้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น