วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การปรับแต่งโปรแกรม internet explorer

                         การท่องอินเทอร์เนตในปัจจุบัน โปรแกรมหลักที่เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นจะต้องมีก็คือ โปรแกรมประเภทบราวเซอร์ เพื่อใช้เรียกเว็บเพจจากเว็บไซต์ต่างๆ ขึ้นมาแสดงบนหน้าจอ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น Internet Explorer, Netscape, Mozilla ฯลฯ โดยที่ฮิตที่สุดคงหนีไม่พ้น Internet Explorer หรือที่เราเรียกกันว่า IE เนื่องจากเป็นบราวเซอร์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows ตั้งแต่เวอร์ชันเก่าจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น windows XP หรือ Windows 2003 ก็จะมีบราวเซอร์ IE ติดมาด้วย

การท่องอินเทอร์เนตในปัจจุบัน โปรแกรมหลักที่เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นจะต้องมีก็คือ โปรแกรมประเภทบราวเซอร์ เพื่อใช้เรียกเว็บเพจจากเว็บไซต์ต่างๆ ขึ้นมาแสดงบนหน้าจอ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น Internet Explorer, Netscape, Mozilla ฯลฯ โดยที่ฮิตที่สุดคงหนีไม่พ้น Internet Explorer หรือที่เราเรียกกันว่า IE เนื่องจากเป็นบราวเซอร์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows ตั้งแต่เวอร์ชันเก่าจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น windows XP หรือ Windows 2003 ก็จะมีบราวเซอร์ IE ติดมาด้วย ปัจจุบันได้มีการพัฒนามาและอัพเกรดขึ้นมาหลายเวอร์ชัน ล่าสุดก็คือ เวอร์ชัน 6 ที่ยังมีช่องโหว่ต่างๆ มากมาย ที่ยังคงมีการพัฒนามาเรื่อยๆ เป็น 6.1 ~ 6.2

แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นก็ยังไม่อาจทำได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้หลายๆ คน ซึ่งการปรับแต่งนั้นอาจทำได้เพียงแค่โหลด Skin เข้ามาตกแต่งให้มีสีสันมากขึ้น หน้าตาเปลี่ยนไปบ้าง และถ้าอยากจะทำอะไรที่นอกเหนือจากนั้น คุณอาจจะต้องใช้เครื่องมือจำพวก Tweak เพื่อมาปรับแต่ง แต่คอลัมน์ Internet Tips ฉบับนี้เราได้เตรียมวิธีที่จะช่วยให้คุณสามารถ แก้ไข และปรับแต่ง IE โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมจากภายนอกมาช่วยเลย ซึ่งอาศัยเพียงเทคนิคการแก้ไข registry ที่จะยกมา 12 วิธี ด้วยกัน ดังนี้

1. วิธีการซ่อนไอคอน IE บนหน้าต่างเดสก์ทอป

การแก้ไข Registry เพื่อซ่อนไอคอน IE
โดยปกติแล้วบนหน้าจอวินโดวส์จะมีไอคอนดีฟอลต์อยู่ ซึ่งจะไม่สามารถทำการ Delete ออกไปได้ วิธีการคือ ให้เปิดหน้าต่าง Registry แล้วทำการแก้ไขพาร์ท ของ User Key และ System Key โดยสร้าง DWORD value หรือแก้ไขค่าเดิมที่มีอยู่แล้ว ชื่อ "NoInternetIcon" แล้วเซตค่าภายในให้มี ค่าเป็น 1 เพื่อยกเลิกการทำงาน

การตั้งค่าของ Registry
User Key: [HKEY_CURRENT_USERSoftwareMicrosoftWindowsCurrentVersionPolicies Explorer]
System Key: [HKEY_LOCAL_MACHINESoftwareMicrosoftWindowsCurrentVersionPolicies Explorer]
Value Name: NoInternetIcon
Data Type: REG_DWORD (DWORD Value)
Value Data: (0 = disabled, 1 = enabled) ให้ใส่เลข 1 เข้าไป

Note: ไอคอน IE บนเดสก์ทอปจะหายไป แต่ยังสามารถสร้าง Short cut ขึ้นมาแทนใหม่ได้ถ้าต้องการ

2. วิธีการซ่อนโฟลเดอร์ Links จากเมนู Favorite

การแก้ registry เพื่อลบโฟลเดอร์ Favorite
Favorite มีไว้สำหรับเก็บลิงค์เว็บไซต์ต่างๆ ที่คุณชอบเข้าไป ซึ่งจะมีโฟลเดอร์อยู่ตัวหนึ่งที่ต่อให้ลบโฟลเดอร์นี้ไปแล้ว เมื่อเปิด IE ขึ้นมาใหม่ วินโดวส์จะสร้างโฟลเดอร์นี้ขึ้นมาอีก และวิธีที่จะลบโฟลเดอร์ Links ออกอย่างถาวรนั้น ให้ไปที่พาร์ทของ Userkey ในช่อง "LinksFolderName" โดยปล่อยให้เป็นค่าว่าง ๆ เอาไว้ เมื่อลบแล้วเปิด IE ขึ้นมาอีกครั้ง ก็จะไม่ปรากฏโฟลเดอร์ Links ให้เห็นอีกเลย

การตั้งค่าของ Registry
User Key: [HKEY_CURRENT_USERSoftwareMicrosoftInternet ExplorerToolbar]
Value Name: LinksFolderName
Data Type: REG_SZ (String Value)

Note:วิธีการที่ง่ายกว่าคือสามารถเข้าไปที่ พาร์ทซึ่งเก็บเมนู Favorite เช่น C:windowsFavorite ในวินโดวส์ 9x หรือที่ C:Documents and SettingsUser_nameFavorites บนวินโดวส์ NT, 2000, xp แล้วทำการเลือกที่โฟลเดอร์ Links คลิกขวาเลือก Properties จากนั้นทำการเช็คบอกซ์ที่ค่าของ Hidden แล้วกด OK ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

3. วิธีการบล็อกไม่ให้ใช้ FTP ผ่านบราวเซอร์

การแก้ registry เพื่อบล็อกการทำงานของ FTP
การเข้าไปยังเว็บไซต์บางแห่งจะมีช่องทางให้เราสามารถดาวนด์โหลดข้อมูลผ่านโพรโตคอลจำพวก FTP ซึ่งเราสามารถปิดไม่ให้ใช้งานได้ โดยไปที่ registry พาร์ท System Key จากนั้นให้ลบค่าที่อยู่ใน String ที่ชื่อ “ftp”

การตั้งค่าของ Registry
System Key: [HKEY_LOCAL_MACHINESOFTWAREMicrosoftWindowsCurrentVersionURL Prefixes]
Value Name: ftp
Data Type: REG_SZ (String Value)
Value Data: ftp://

Note: ถ้าต้องการจะให้ทำงานอีกครั้ง ให้สร้าง String ขึ้นมาใหม่ที่ชื่อ “ftp” แล้วเซตค่าภายในให้เป็น “ftp://”

4. วิธีการซ่อนทูลบาร์ My picture ใน IE

การปรับแต่ง Registry เพื่อซ่อน Toolbar My picture
เมื่อเราเปิดรูปภาพด้วย Internet Explorer จะมีทูลบาร์ปรากฏขึ้นมา ให้คุณสามารถบันทึกภาพ พิมพ์ ส่งอีเมล์ หรือเปิดไปยังโฟลเดอร์ My picture โดยหากเราต้องการซ่อนทูลบาร์นี้ ไม่ให้ปรากฏขึ้นมาเมื่อนำเมาส์ไปชี้ที่ภาพแล้วละก็ (สามารถใช้ได้ตั้งแต่ IE 5.5 ขึ้นไป) ให้เข้าไปที่พาร์ทของ User Key จากนั้นสร้าง DWORD ให้เป็นชื่อ "MyPics_Hoverbar" แล้วใส่ค่าภายในดังรูป

การตั้งค่าของ Registry
User Key: [HKEY_CURRENT_USERSoftwarePoliciesMicrosoftInternet Explorer PhotoSupport]
Value Name: MyPics_Hoverbar
Data Type: REG_DWORD (DWORD Value)
Value Data: (0 = show bar, 1 = hide bar)

Note: หลังจากแก้ไขค่าเสร็จแล้ว เราต้อง Restart เครื่องก่อนจึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ต้องการ และสามารถเข้ามาแก้ไขค่าคืนได้ตามต้องการ

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทที่ 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web: www)

WWW (World Wide Web) หรือ เครือข่ายใยแมงมุม จะเป็นตัวช่วยให้การท่องไปในโลก    อินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน เพราะมีการแสดงผลแบบ Hypertext ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งเมื่อเข้าใช้งาน แล้วจะทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเกิดความสะดวกสบายในการใช้งาน ในการใช้งาน WWW จะทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมีความรู้สึกเสมือนหนึ่งว่าข้อมูลที่มีอยู่ใน ทุกมุมโลกนั้น อยู่เพียงแค่ปลายมือ ที่สามารถค้นหาได้ภายในไม่กี่นาที
เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web)
ความหมายและประเภทของ Domain name
           โดเมนเนม (Domain Name) เป็น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบของอินเทอร์เน็ตดังนั้น เพื่อให้เข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโดเมนเนม  จะต้องรู้เรื่องพื้นฐานและคำศัพท์เบื้องต้นในโลกของอินเทอร์เน็ตอย่างก่อน โดยเริ่มตั้งแต่คำว่า  WWW  หรือ World Wide  Web  หรือ Web  หรือ W3  ซึ่งเปรียบได้กับห้องสมุดที่ให้ใคร ๆ   เข้ามาศึกษาค้นหาข้อมูล หรือมีข้อมูลสำหรับนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาวางแล้วให้ผู้ที่สนใจเข้ามา ศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุด  WWW  ซึ่งจะแตกต่างจากห้องสมุดทั่ว ๆ  ไปตรงที่เป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เป็นประมาณ  Electronics  Library  หรือ e-library  นั่นเองและที่สำคัญคือ  ทั้งโลกมีอยู่ห้องเดียว  ดังนั้น  ถ้าคุณเข้ามาหาอะไรแล้วไม่เจอ ก็ไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปหาที่ห้องสมุดอื่น ๆ ให้อีกหาอยู่ที่  e-library ที่เดียวมีทุกอย่างที่ต้องการ  โดเมนเนม เป็นชื่อที่ขอจดทะเบียนไว้เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเรียกใช้งาน อินเทอร์เน็ต ไม่ได้เป็นชื่อหรือตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูลบนอิน เทอร์เน็ต

ส่วนประกอบของโดเมนเนม
  โดเมนเนมจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 สับโดเมน (Sub Domain Name)
ส่วนที่ 2 Second – Level Domain Name
ส่วนที่ 3 Top – Level Domain
 
ความเป็นมาของโดเมนเนม (Domain Name )

         อินเทอร์เน็ต (Internet) เริ่มต้นมาจากโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการศึกษาและระบบเครือข่าย ที่รู้จักกันดีในนามของโครงการ “ARPANET” ซึ่งระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานตรงนี้ก็คือ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocol) โดยใช้ระบบปฏิบัติการ IUNIX ซึ่งช่วยให้การเชื่อมโยงสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้รับความสนใจจากคนทั่ว โลก
        ในระยะแรก การใช้งานในอินเทอร์เน็ตไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก  เพราะเครื่องที่อยู่ใน เครือข่ายมีไม่มาก  แต่ต่อมาเมื่อมีคนสนใจและมีเครือข่ายการใช้งานที่กว้างมากขึ้น  ก็เลยทำให้เกิดความต้องการในการใช้ชื่อที่ง่ายและไม่ซับซ้อน จำง่าย แทนที่จะใช้ในลักษณะของ IP Address ซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่ใช้อยู่   ซึ่งทำให้เกิดการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องของ “Name Server” ขึ้นมาครั้งแรก ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องรู้จัก และนี่ก็คือต้นกำเนิดของการใช้โดเมนเนมในปัจจุบันและหลังจากนั้นไม่ไม่นาน Domain Name System (DNS) ชุดแรกที่ถูกนำออกมาให้ทุกคนได้ใช้งานมีอยู่ด้วยกัน  5  แบบ โดยเราสามารถแยกความแตกต่างของโดเมนเนมได้จากตัวอักษรย่อที่ต่อจากชื่อ เช่น www.****.com หรือ www. ****.net หรือ www. ****.org  ระยะแรกนี้การจดโดเมนเนมจะทำได้โดยไม่ต้องเสียเงิน โดยมี IANA เป็นผู้ดูแล แต่ระยะหลังเมื่อทาง IANA และ NSF (National Science Foundation) ได้ร่วมกันจัดตั้ง InterNIC ขึ้นมา   เริ่มมีการคิดค่าใช้จ่ายในการ    จดทะเบียนตามมา 100 USD ใน  2  ปีแรกของระยะแรกและลดลงมาเป็น  70  USD  โดยมี ICANN หรือ  Internet Corporation for Assigned Names and Numbers  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมา   

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต (TCP/IP)

         การสื่อสารข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทาง กับคอมพิวเตอร์ปลายทาง โดยในการโอนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ จำเป็นที่จะต้องมีการอาศัยภาษากลางในการสื่อความหมายระหว่างกันเพื่อให้เกิด เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลให้การสื่อสารระหว่างกันภายในเครือข่ายได้อย่างรวมแล้วและมี ประสิทธิภาพ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วเรียกว่า Protocol  เป็นเช่นนี้จะเห็นได้ว่า Protocol นั้นหมายถึง มาตรฐานทางด้านภาษาสื่อสารในการที่จะควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและ ปลายทาง  สำหรับการสื่อสาร       บนอินเทอร์เน็ตนั้นได้ใช้ Protocol ที่มีชื่อว่า TCP/IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อันเกิดจากมาตราฐาน 2  แบบ คือ TCP มีหน้าที่ในการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ ซึ่งเรียกว่า Packet ที่มีขนาดเล็กกว่า 1,500  ตัวอักษร  และทำหน้าที่ประกอบข้อมูลที่แบ่งย่อยออกมาเหล่านี้ในฝั่งของปลายทางที่รับ   ข้อมูล  ส่วน IP นั้น  ทำหน้าที่ในการกำหนดเส้นทางของการสื่อสารจากต้นทางไปยังปลายทาง
หลักการทำงานของ TCP/IP
           หลักการทำงานของ TCP/IP มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 TCP  ทำหน้าที่ในการที่แตกข้อมูลที่ต้องการออกเป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนย่อยนี้เรียกว่า Packet โดยแต่ละ Packet จะมีส่วนหัวเรียกว่า Header  ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูล  เกี่ยวกับลำดับของแพ็กเก็ตซึ่งจะถูกนำมาใช้เพื่อประกอบข้อมูลกลับมายังฝั่ง ของผู้รับ
ขั้นตอนที่ 2    Packet แต่ละ Packet จะถูกนำส่งไปแต่ละ IP              ซึ่ง  Packet  แต่ละ Packet จะมี IP เป็นของตนเอง ภายใน IP แต่ละตัวจะถูกกำหนดที่อยู่ปลายทางของผู้รับ และผู้ส่ง โดยจะมีการกำหนดช่วงเวลาและอายุของ Packet
ขั้นตอนที่ 3   Packet  ถูกส่งออกไปบนระบบอินเทอร์เน็ตผ่านเร้าเตอร์              ( Router) ซึ่ง IP  จะถูกตรวจสอบที่อยู่ปลายทางเมื่อผ่านเร้าเตอร์แต่ละตัว   หลังจากนั้นเร้าเตอร์จะทำหน้าที่หาช่องทางในการ
ขั้นตอนที่ 4   เมื่อ Packet  เดินทางไปถึงปลายทางเรียบร้อยแล้ว TCP จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลภายใน Packet อีกครั้ง ว่าครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่  ถ้าไม่ครบหรือไม่ถูกต้องจะทำการทิ้ง Packet นั้นไปแล้วเรียกกลับไปต้นทางใหม่อีกครั้ง
ขั้นตอนที่ 5   เมื่อปลายทางนั้นได้รับ Packet ที่ถูกต้องครบทั้งหมดแล้ว TCP จะทำหน้าที่ประกอบข้อมูลให้พร้อมที่จะใช้งานต่อไป

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail: E-mail)

ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-mail กับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 20 ล้านคน ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ก็รวดเร็วทันใจและสะดวกมาก โดย E-mail จะมีหลักการทำงานดังนี้
    • POP3 (Post Office Protocol) ซึ่งในปัจจุบันเป็น protocol มาตรฐานที่ใช้สำหรับรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนี้
    • SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
    • IMAP (Internet Message Access Protocol)
    • MIME (Multipurpose Internet Mail Extension)
      วิธีการทำงานของ POP3
      POP3 จะมีหลักหารทั่วไปคล้ายๆกับหลักการรับและส่งของระบบไปรษณีย์ในปัจจุบัน คือในทันทีที่มีจดหมายมา ส่งที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง (โดยทั่วไปคือ Mail server ของ ISP หรือ องค์กรต่างๆ)จดหมายฉบับนั้นก็จะค้าง อยู่ที่ๆทำการฯ ไปจนกว่าจะมีคนมาติดต่อขอรับมัน ด้วยวิธีการนี้ภาระของผู้ส่งจดหมายจะสิ้นสุกเมื่อจดหมายถึง ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง(ซึ่งก็เปรียบเสมือนโฮสต์ที่ทำหน้าที่เก็บจดหมายของผู้ใช้ปลายทาง) POP3 จะเป็น Protocol แบบดึง('Pull' Protocol) เมื่อใดก็ตามที่เครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้บรอการ (Client) มีความต้องการที่จะ ตรวจสอบข้อความ มันจะทำการเชื่อมต่อไปยัง เมล เซอเวอร์ และจะใช้ POP เพื่อ Login เข้าปยังตู้รับจดหมาย (Mailbox) แล้วดึงจดหมายนั้นมาไว้ในเครื่องเราPOP จะเป็นหารบริการที่เหมาะสมสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ต้อง การติดต่อเข้าอินเทอร์เน็ตทางโทรศัพท์ เพราะว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราจะรับ E-mail ไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อม ต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา
      วิธีการทำงานของ SMTP
      วิธีการนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันบน Unix ซึ่ง เป็น โปรโต้คอลที่อาศัยวิธีการส่งจดหมายเป็นทอดๆระหว่างโฮสต์ ต่อๆกัน จนกว่าจะไปถึงโฮสปลายทาง สรุปคือ วิธีการนี้เป็นวิธีเก่า ถ้าไม่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รับเอาไว ้ตลอดเวลาก็จะไม่สามารถรับ จดหมายได้ และในปัจจุบันเครื่อง PC ส่วนบุคคลทั้งหลายก็ไม่ได้ใช้ระบบปฏิบัติ การUNIX และระบบปฏิบัติการที่ใช้ก็ไม่รองรับไฟล์ในระบบ Unix นั่นก็หมายความว่า หากใช้เครื่อง PC ถึง จะเปิดเครื่องไว้ เครื่องนั้นก็ไม่สามารถใช้ไฟล์นั้นได้อยู่ดี ระบบนี้จึงเป็นระบบเก่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนัก
      วิธีการทำงานของ IMAP
      เป็น Protocol ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ POP3 แต่จะแก้ปัญหาของ POP3 ได้ดีขึ้นคือ POPจะมีวิธีการทำงานในลักษณะ "เก็บและส่งต่อ" (store-and-forward) ดังนั้นกระบวนการจัดการจดหมายต่างๆจึงยังไม่ดีมากพอ IMAP จะแตกต่าง จาก POP ในเรื่องของการตรวจสอบเมล์ ซึ่ง IMAP จะสามารถตรวจสอบเมล์ได้ 3 แบบคือ
      1.offline access คือดึงเมล์ ทั้งหมดมาเก็บไว้ที่เครื่องเราและ ลบเมล์ออกจากเครื่อง server(ซึ่ง POP3 จะตรวจสอบด้วยวิธีนี้ และการใช้โปรแกรมดึงอีเมล์ (E-mail Client ) บางตัวเราสามารถสั่งให้เก็บจดหมายที่เราอ่านแล้วไว้ที่เครื่อง server ได้
      2.Online-access อ่านเมล์แบบออนไลน์โดยใช้เครื่องเราเป็นตัวอ่านเมล์ ส่วนตัวจดหมายก็อยู่ที่ server
      3. Disconnected access คือการผสมระหว่าง 2 วิธีแรกคือ เราสามารถเลือกเมล์ที่ต้องการนำมาเก็บเครื่องเราก่อน ได้ โดยไม่ต้องดาวโหลดมาทั้งหมด ที่สำคัญเราสามารถรู้ได้ว่าเราได้มีการลบเมล์ไปเท่าไหร่แล้ว โดย IMAP จะสามารถจดจำเอาไว้ได้ว่าเราได้ลบเมล์ฉบับไหนออกไปเมื่อมีการติดต่อกับ เซอร์เวอร์ในครั้งถัดไปจำนวน เมล์ในเครื่องเรากับเครื่องเซอร์เวอร์จะถูกปรับให้เข้ากันได้โดยอัติโนมัติ(คือการทำ Synchronized) ด้วยเทคนิค นี้ทำให้เราสามารถตรวจสอบเมล์ได้จากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องโดยไม่สับสน(ไม่ว่าคุณจะใช้เครื่องจากที่บ้าน ที่ทำงาน หรือ โน๊ตบุค ก็จะให้ผลเหมือนกันซึ่งจะต่างจาก POP ที่ทำให้สับสนเมื่อตรวจเมล์จากหลายๆเครื่อง) ซึ่งเราสามารถสรุปจุดเด่นของ IMAP ได้ดังนี้
      1. IMAP สามารถให้บริการในรูปแบบ remote ได้ดีกว่า (คือการควบคุมการใช้เมล์จากเครื่องเราไปยัง Server ) เช่น อ่านเมล์แบบออนไลน์ แยกเมล์กับส่วนประกอบเอกสาร (Attachment)ออกจากกันได้ เราสามารถเลือกดาว โหลดจดหมายมาเก็บไว้เครื่องเรา โดยทิ้งส่วนประกอบเอกสารไว้ที่ Server เพื่อดาวโหลดในภายหลังหรือยามว่าง
      2. IMAP สนับสนุนโฟลเดอร์แบบลำดับชั้นและสามารถแบ่งโฟลเดอร์ให้ใช้งานร่วมกันได้(folder hierarchies and folder sharing) ในขณะที่ POP ไม่สามรถทำได้
      3. IMAP อนุญาตให้ทำการค้นหาจดหมายหรือบางส่วนของจดหมาย รวมทั้งเลือกจดหมายที่ต้องการจะนำมาเก็บ ไว้ที่เครื่องเราได้ (การค้นหานี้จะทำโดย server ไม่ใช่ Client) แต่ถึงยังไงก็แล้วแต่ IMAP protocol ก็ยังไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบันโดยนักเล่นอินเทอร์เน็ตทั้งหลายยังคงใช้ POP กันอยู่เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้
      1. POP3 นั้นได้ติดตั้งอยู่ในโปรแกรมชิอดังที่มีความสามารถลูกเล่นแปลกใหม่ที่ได้รับความนิยมของ user ทั่ว ไปในขณะที่ IMAP นั้นยังไม่ค่อยมีโปรแกรมที่พัฒนามากนัก
      2. การใช้ IMAP นั้น จะต้องใช้ทรัพยากรของเครื่อง Server มากขึ้นทำให้เครื่องที่เป็น server ต้องทำงานหนักขึ้น อย่างมากจึงต้องเสียค่าบริการราคาแพง แต่ POP นั้นมีให้บริการฟรีทั่วไปในโลก Cyber space
      3. IMAP นั้นจะต้องใช้เวลาในการติดต่อนานกว่า เนื่องจากมีกิจกรรมที่จะต้องส่งข้อมูลระหว่าง Client กับ server เพื่อปรับเปลี่ยนข้อมูลให้ตรงกันซึ่งต่างกับ POP คือดึงข้อมูลมาแล้วก็หมดหน้าที่
      วิธีการทำงานของ MIME
      เนื่องจากอีเมล์สมัยแรกที่เริ่มต้นในระบบอินเทอร์เน็ตจะมีค่าแค่เพิ่งเครื่งมือในการส่งข้อความสั้น โดยที่คุณ ไม่สามารถที่จะแนบเอกสารหรือรูปภาพที่คุณชอบส่งไปได้ จนกระทั่งได้มีการพัฒนา กำหนด Protocol ใหม่ที่ชื่อว่า MIME ซึ่งเป็มาตรฐานในการเข้ารหัสแฟ้มข้อมูลหลายชนิดไปรวมกับ E-Mail ผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ม ีไฟล์ประเภทไหนที่ MIME ไม่รู้จัก เราจึงสามารถส่งไฟล์ทุกประเภทไปพร้อมกับ E-mail ได้ โดยมีวิธีการคือแปลง ไฟล์รูปภาพ เสียง วีดีโอ ซึ่งอยู่ในรูปแบบ Binary ให้มาอยู่ในรูปแบบตัวอักษร MIME เป็นตัวมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อรองรับจุดประสงค์ที่หลากหลายจากการใช้งาน internet Mail ทั้งนี้เพื่อ ขยายประโยชน์ใช้สอบของอีเมล์ได้มากขึ้น แฟ้มข้อมูลมาตรฐาน MIMEสามารถใช้ร่วมกับการเก็บไฟล์ของส่งผ่าน ไปทางมาตรฐาน SMTP และ UUCP รวมถึง BitNet X.400 SNADS PROFS และยังมีความสามารถในการแลก เปลี่ยนข้อมูลบนระบบปฏิบัติการ ที่ต่างกันแต่ชนิดของซอฟแวร์ที่ใช้ต่างกันได้อย่างน่าอัศจรรย์
      สรุป
      ถึงแม้จะมี Protocol มากมายที่ใช้สำหรับอินเทอร์เน็ตเมล์ซึ่งแต่ละอันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียของตัวเอง ซึ่งโดย ทั่วไปก็จะใช้ POP3 ร่วมกับ SMTP โดยจะใช้ SMTP ในการส่งเมล์ออกไปยังปลายทางและใช้ POP ในการรับ เก็บจดหมาย E-mail เป็นมาตรฐานในการใช้ E-mail ในปัจจุบัน ซึ่งการใช้งานนี้ก็สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิดีแล้ว

การโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Transfer Protocol: FTP)


   การโอนย้ายข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถกระทำได้ทั้งในรูปแบบของรูปภาพและประเภทไฟล์ข้อมูล มีลักษณะของการโอนย้ายข้อมูลทั้งการดาวน์โหลด และการอัพโหลด ซึ่งสามารถจัดแบ่งประเภทของโปรแกรมที่ดาวน์โหลดออกเป็น 4 ประเภท คือ แชร์แวร์ เดโมแวร์ โปรแกรมรุ่นเบต้า และโปรแกรมฟรีโดยเมื่อต้องการดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากเว็บไซต์ จะมีรายละเอียดเพื่อบอกถึงประเภทของโปรแกรม นอกจากนี้การดาวน์โหลดข้อมูลประเภทต่างๆ การอัพโหลดข้อมูลก็มีความสำคัญ ถ้าเราต้องการสร้างโฮมเพจของตนเอง ซึ่งอาจจะใช้รูปแบบของการขอพื้นที่ฟรีในการสร้างโฮมเพจจากเว็บไซต์ต่างๆ หรือการเช่าพื้นที่ในการสร้าง  โฮมเพจจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็จะต้องใช้โปรแกรมช่วยในการอัพโหลดข้อมูล เช่น โปรแกรม WS-FTP
สาระการเรียนรู้
1.   ลักษณะของการโอนย้ายข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
1.1  การดาวน์โหลด (Download)
1.2   การอัพโหลด (Upload)
2.     ประเภทของโปรแกรมที่ดาวน์โหลด
2.1    แชร์แวร์ (Shareware)
2.2     เดโมแวร์ (Demoware)
2.3     โปรแกรมรุ่นเบต้า (Beta Software)
2.4     โปรแกรมฟรี (Freeware)


การบริการใช้เครื่องข้ามเครือข่ายด้วย Telnet

การบริการใช้เครื่องข้ามเครือข่ายด้วย Telnet
   เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถล็อกอินเข้าไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลได้ เสมือนกับเราไปนั่งใช้งานที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ และสามารถสั่งให้เครื่องปฏิบัติงานตามคำสั่ง หรือโปรแกรมจากเครื่องของเราได้ การแสดงผลลัพธ์ของโปรแกรมTelnet นั้น ส่วนใหญ่แล้วนั้นจะแสดงในรูปของข้อความ
   การทำงานของ Telnet จะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เป็นบริการที่สามารถขอเข้าไปใช้บริการ หรือทรัพยากรของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ภายในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะมีเครื่องแม่ข่าย ที่จะทำหน้าที่ในการประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลไปยังฐานข้อมูล งานบางชนิดจะต้องใช้โปรแกรมสำหรับการทำงานเฉพาะอย่าง ดังนั้น เครื่องที่เป็นเครื่องแม่

บริการค้นหาข้อมูลข้าวเครือข่าย

เนื่องจากมีความพยายามที่จะจัดตั้งระบบ Electronic Library หรือห้องสมุดเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จึงมีการพัฒนาระบบดังกล่าว เพื่อทำเมนูในการค้นคว้า หาข้อมูลที่ต้องการ ได้แก่
  • Archie
    • มหาวิทยาลัย Mc Gill ใน Montreal ประเทศแคนาดา โปรแกรมนี้เป็นความพยายามอันแรก ที่จะใช้ระบบ Internet เป็น Catalog เพื่อเก็บและเผยแพร่ข้อมูล สารสนเทศบนเครือข่าย คุณสามารถส่งคำถาม ไปยังเครื่องที่บริการด้วย E-mail และเครื่องบริการก็จะตอบคำถามกลับมา เป็นวิธีการแบบง่าย ในการที่จะค้นหาสารสนเทศ ในลักษณะของ anonymous ftp พัฒนาจาก
  • Gopher
    • พัฒนาจากมหาวิทยาลัย Minnesota เป็นวิธีการซึ่งสามารถที่จะค้นหา และ รับข้อมูลแบบง่าย บน Internet โดยไม่ยุ่งยาก และสามารถรับข้อมูลได้หลาย แบบ เช่น ข้อความ เสียง หรือภาพ Gopher นั้น ทำงานผ่านเครือข่ายโดยอัตโนมัติ โดยมีตัวให้บริการ อยู่ทั่วไปบน Internet แต่ละตัวให้บริการ จะเก็บข้อมูลของตนเอง รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังตัวให้บริการอื่นๆ ในการเข้าถึง Gopher ด้วย Gopher name
  • Veronica
    • มาจากคำว่า Very Easy Rodent-Oriented Net-oriented Index to Computerized Archives ซึ่งพัฒนาจาก มหาวิทยาลัยแห่ง Nevada ซึ่งจะใช้การค้นหาด้วย Key Word ในทุกๆ ตัวให้บริการ และทุกๆ เมนู หรือเรียกอีกแบบหนึ่งได้ว่า เก็บดัชนีของทุกๆ ตัวให้บริการ ไว้ที่ Veronica
  • WAIS
    • มาจากคำว่า Wide Area Information Sever สามารถใช้โปรแกรมนี้ ในการค้นหาแหล่งข้อมูล โดยใช้ภาษาแบบปกติ ไม่ต้องใช้โปรแกรมภาษาพิเศษ หรือภาษาของฐานข้อมูลในการค้น WAIS ทำงานโดยการรับคำร้อง ในการค้นและเปรียบเทียบ ในเอกสารต้นฉบับว่าเอกสารใด ตรงกับความต้องการ และส่งรายการทั้งหมดมายังผู้ที่ต้องการ

บริการสนทนาออนไลน์ (chat)

ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนไลน์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆ คนในลักษณะของการ Chat ( ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ แทนตัวคนที่สนทนากันได้แล้ว และยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับ โทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วยโดย การทำงาน แบบนี้ก็จะอาศัยโปรโตคอลช่วยในการติดต่ออีกโปรโตคอลหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า IRC (Internet Relay Chat) ซึ่งก็เป็นโปรโตคอลอีกชนิดหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอเน็ตที่สามารถทำให้ User หลายคนเข้ามาคุยพร้อมกันได้ผ่านตัวหนังสือแบบ Real time

กระดานข่าว(Bulletin Board System : BBs)

กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Bulletin Board System) หรือ บีบีเอส (BBS) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่รันซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้หลาย ๆ คน ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมเทอร์มินัลติดต่อเข้าไปในระบบ ผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์. โดยในระบบจะมีบริการต่าง ๆ ให้ใช้ เช่น ระบบส่งข้อความระหว่างผู้ใช้ (คล้าย จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน แต่รับส่งได้เฉพาะภายในระบบเครือข่ายสมาชิกเท่านั้น) ห้องสนทนา บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ และกระดานแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นต้น
บีบีเอสส่วนใหญ่เปิดให้บริการฟรี โดยสมาชิกจะสามารถเข้าใช้ระบบได้แต่ละวันในระยะเวลาจำกัด บีบีเอสมักจะดำเนินการในรูปของงานอดิเรกของผู้ดูแลระบบ หรือที่เรียกกันว่า ซิสอ็อป (SysOp จากคำว่า system operator)
บีบีเอสส่วนในเมืองไทยมีขนาดเล็ก มีคู่สายเพียง 1 หรือ 2 คู่สายเท่านั้น บางบีบีเอสยังอาจเปิดปิดเป็นเวลาอีกด้วย บีบีเอสขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนได้แก่ ManNET ซึ่งมีถึง 8 คู่สายและเปิดบริการตลอด 24 ชม. ManNET ดำเนินการโดยแมนกรุ๊ป ผู้จัดทำนิตยสารคอมพิวเตอร์รายใหญ่ในยุคนั้น. นอกจากนี้ยังมีบีบีเอส CDC Net ของ กองควบคุมโรคติดต่อ (กองควบคุมโรค ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นบีบีเอสระบบกราฟิกรุ่นบุกเบิกของประเทศไทย
ในปัจจุบัน บีบีเอสมีบทบาทน้อยลงไปมาก เนื่องจากความแพร่หลายและข้อได้เปรียบหลายประการของ อินเทอร์เน็ต และ เวิลด์ไวด์เว็บ. ในประเทศญี่ปุ่น คำว่า บีบีเอส อาจจะใช้เรียกกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตด้วย. แต่สำหรับเมืองไทยแล้ว นิยมเรียกกระดานข่าวเหล่านี้ว่า เว็บบอร์ด มากกว่า

กระดานข่าว (BBS)
กระดานข่าว หรือ Bulletin Board Sytem (BBS) เป็นบริการข่าวสารรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านกระดานอิเล็กทรอนิกส์ ของเครือข่าย ตามหมวดหมู่ที่มีการกำหนดไว้ หรืออาจจะกำหนดเพิ่มเติมก็ได้ ที่เรียกว่ากลุ่มข่าว (Newsgroup) เช่น กลุ่มผู้สนใจด้านศิลปะ, ด้านโปรแกรม เป็นต้น ปัจจุบันเป็นบริการหนึ่งที่นิยม และมีการปรับรูปแบบให้อยู่ในรูปของเอกสาร HTML ทำให้สามารถเรียกดู และใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

การค้าอิเล็กทรอนิกส์

การค้าอิเล็กทรอนิคส์

ความหมายของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายรวมถึงการค้าทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่หลายคนอาจจะนึกถึงเฉพาะการค้าบนเว็บอย่างเดียว แต่จริง ๆ แล้วการค้าขายโดยผ่านทางเครื่องแฟกซ์ โดยเราแฟกซ์เอกสารขายตรงออกไป และลูกค้าแฟกซ์ใบสั่งซื้อเข้ามาก็ถือเป็น E-commerce หรือการขายตรงทางทีวียิ่งชัดเจนมากขึ้น เช่น การเสนอขายสินค้าผ่านทางทีวีก็ถือเป็นแบบ E-commerce ได้เช่นกัน (ศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2544)จะเห็นได้ว่า   การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การประกอบธุรกิจ ซื้อขายสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งที่นิยมได้แก่อินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องเห็นหน้ากัน และสามารถติดต่อโอนเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์การค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการค้าแบบ E-business หรือการประยุกต์อินเทอร์เน็ตในการดำเนินธุรกิจ โดยทั่วไปแล้วหมายถึงการค้าแบบ "ซื้อมา-ขายไป" ในส่วนของหน้าร้าน (front office) ซึ่งมีหลายแบบ ได้แก่
          1. การค้าระหว่างองค์กรธุรกิจกับองค์กรธุรกิจ (Business to Business (B-to-B)) เป็นการค้าขนาดใหญ่ระหว่างองค์กรกับองค์กร ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการสินค้าส่งออก นำเข้าหรือค้าส่งที่ต้องส่งสินค้าเป็นล็อต (lot) ขนาดใหญ่ ซึ่งการชำระเงินจะผ่านระบบธนาคาร เช่น T/T, L/C หรือเช็ค เป็นต้น
          2. การค้าระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer (B-to-C)) เป็นการค้าปลีกไปยังผู้บริโภคทั่วโลก หรือภาย ในท้องถิ่นของตน ในส่วนนี้อาจจะรวมการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหลหรือค้าส่งขนาดย่อยไว้ด้วย ซึ่งการชำระเงินโดยส่วนใหญ่จะเป็นการชำระผ่านระบบบัตรเครดิต แต่อย่างไรก็ตาม การค้าแบบ B-to-C นี้มักทำให้เกิดกาค้าแบบ B-to-B ในอนาคตได้ และหลายบริษัท มักทำกิจกรรมสองอย่างนี้ในคราวเดียวกัน
          3. การค้าระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน (Consumer to Consumer (C-to-C)) เป็นการค้าปลีกระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยกัน เช่น อาจจะเป็นการขายสินค้าหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้งานแล้ว รวมทั้งการเปิดประมูลเพื่อขายข้าวของเครื่องใช้ของตนเองด้วย การแบ่งกลุ่มข้างต้นนี้ ถือเป็นแนวทางคร่าว ๆ ให้เราได้ตัดสินใจว่า จะเลือกเดินในทางใดในการทำธุรกิจบนเว็บ ซึ่งถือเป็นการเลือกคู่ค้าไปในตัว ความจริงแล้วเราอาจจะแบ่งกลุ่มได้มากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่นำมาใช้ในการจัดรูปแบบ เช่น หากทำการค้าขายกับองค์กรของรัฐบาลอาจจะเรียกเป็น Business-to-Government ก็ได้ หรือหากค้าขายกับองค์การที่ไม่ค้ากำไรก็อาจเรียกเป็นการค้าแบบ Business-to-NGO--Non Government Organization หรืออาจจะขายตรงไปยังผู้ค้าส่งก็เรียกว่า Business-to-Wholesaler เป็นต้น

การทำธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-business)

          การทำธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-business) หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ หรืออินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง โดยมีการประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมทั้งในส่วนของหน้าร้าน (front office) หรือเว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อค้าขายและหลังร้าน (back office) หรือระบบจัดการภายใน ไม่ว่าจะเป็นระบบคลังสินค้า ระบบบัญชี ระบบการเงินหรือแม้แต่ระบบการผลิต รวมทั้งการเชื่อมต่อกับระบบการค้ากับองค์กรภายนอกด้วย อาทิเช่น กับธนาคารโดยใช้ระบบ e-Banking หรือ suppliers โดยผ่าน ระบบ e-supply chain ทั้งนี้โดยอาศัยสื่อทั้งในรูปของ Internet และ Extranet และ/หรือ Virtual Private Network--VPN ที่ทำงานเฉพาะกลุ่มที่มีการรักษาความปลอดภัยเป็นพิเศษ (ศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2544)

จุดประสงค์หลักของการนำเอาระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานด้านต่าง ๆ หรือในทุกส่วนของ กระบวนการธุรกิจนี้เพื่อ
          1. ลดต้นทุน การลดต้นทุนในการติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมล์แทนการใช้โทรสาร ลดค่าพิมพ์แคตตาล็อคสินค้า ลดค่าออกใบเสร็จรับเงิน ลดเวลาการตัดสต็อกในคลังสินค้า ประหยัดเวลาในการบันทึกบัญชี และลดค่าใช้จ่ายในการวางแผนการผลิต
          2. ประหยัดเวลา ทั้งนี้เพราะทุกอย่างสามารถทำงานได้เอง โดยผ่านเครือข่ายโดยอัตโนมัติทำให้กระบวนการบริหารงานเป็นไปอย่าง รวดเร็ว ไม่ต้องใช้คนมางานที่ซ้ำซ้อนเหมือนอย่างที่ผ่านมาแต่อย่างใด
          3. เพิ่มประสิทธิภาพ เนื่องจากการทำงานได้รวดเร็วขึ้น และทำได้ถูกต้องแม่นยำ เพราะลูกค้าเป็นผู้ป้อนข้อมูลต้องสั่งซื้อสินค้าเพียงคนเดียว และจุดเดียว ซึ่งข้อมูลทั้งหมดสามารถทำไปออกใบเสร็จรับเงินได้ บันทึกบัญชีได้ หรือสั่งซื้อวัตถุดิบได้ทั้งหมด
          4. ขยายตลาด ทั้งนี้เพราะการต่อเชื่อมระบบอินเทอร์เน็ตจักทำให้เราสามารถนำเสนอสินค้าออกสู่ตลาดโลกได้อย่างรวดเร็วขึ้น เพราะจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 400 ล้านคน เป็นนักธุรกิจมากกว่า ร้อยละ 80
 การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีแนวทางในการดำเนินกลยุทธ์ที่หลากหลายมาก ทั้งนี้เพราะการทำธุรกิจบนเครือข่าย แห่งนี้ลงทุนต่ำและอาศัยความคิดสร้างสรรค์ (creative) หรือไอเดียเป็นหลัก ฉะนั้นจึงมีธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมายตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิเคราะห์ เราพบว่ารูปแบบการค้าบนอินเทอร์เน็ตหรือ e-Business Model สามารถแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ คือ (ศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2544)
           1. แบบซื้อมา-ขายไป (e-business store font) การค้าแบบซื้อมา-ขายไป เป็นการค้าขายแบบตรงไปตรงมา คือเป็นแหล่ง ให้ผู้บริโภคมาจับจ่ายซื้อของโดยทั่วไปแล้วกลุ่มเป้าหมายมักจะอยู่ในวงจำกัดตามลักษณะของสินค้าที่ขาย ส่วนสิ่งที่เสนอขายกันนั้น ได้แก่ สินค้า บริการ รวมทั้งเนื้อหาข้อมูลต่าง ๆ
           2. แบบสื่อกลางด้านข่าวสาร (infomediary) การค้าแบบสื่อกลางด้านข่าวสาร โดยไม่มีการซื้อขายสิ่งใด นอกจากเป็นศูนย์กลางในการอำนวยความสะดวกของการขายและให้บริการต่าง ๆ ให้ผู้ซื้อผู้ขายมาพบกัน สำหรับธุรกิจนี้ใช้วิธีการเสนอขายดังนี้ การให้บริการความเป็นศูนย์รวมของสรรพสิ่ง หรือที่เราเรียกกว่า "พอร์ทัล" (portal)
           3. แบบสื่อกลางด้านความไว้ใจ (trust intermediary) การค้าแบบสื่อกลางด้านความไว้ใจเป็นการให้บริการเพื่อสร้างความไว้วางใจกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งในการให้บริการจักมีการสร้างสิ่งแวดล้อมหรือระบบรักษาความปลอดภัยหรือระบบรักษาความปลอดภัย
           4. แบบขายเครื่องมือในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-business enabler) การค้าแบบขาย เครื่องมือในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการค้าขายเครื่องมือทำการค้าบนเว็บที่อำนวยความสะดวกและพร้อมใช้งานได้เลย รวมทั้งให้ความไว้วางใจว่าการค้าบนเว็บเป็นไปอย่างราบรื่น และปลอดภัย การเสนอขาย ได้แก่ระบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบออนไลน์แคตตาล็อค ระบบตะกร้า ระบบการชำระเงิน และติดตามผลการสั่งซื้อ เป็นต้น
           5. การให้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน (infrastructure providers) การให้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เป็นการค้าสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อสนับสนุนธุรกรรมของการค้าบนเว็บเช่น ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต การรับสร้างเว็บเพจ การให้เช่าโฮสต์ หรือแม้แต่การจัดส่งสินค้าให้

e-Marketplace และแนวโน้มการค้าบนเว็บในอนาคต

           การสร้างตลาดบนเว็บ หรือที่เรียกว่า e-Marketplace ถือเป็นแนวโน้มของการค้าบนเว็บ แต่อย่างไรก็ตาม โดยความจริงแล้วก็ไม่ได้แตกต่างกับการสร้างตลาดทำการค้าขายปกติแต่อย่างใด จะต่างกันก็ตรงที่ว่าสร้างขึ้นมาได้โดยอาศัยเพียงการสร้างภาพเท่านั้น ไม่ต้องมีตึกแถว ไม่ต้องมีคอมเพล็กใหญ่โต และใช้เงินลงทุนที่ต่ำมากกว่าการสร้างตลาดจริง ๆ หลายเท่าตัวทีเดียวการสร้างตลาดบนเว็บ ไม่ได้แตกต่างจากการสร้างห้างสรรพสินค้าออนไลน์ทั่วไปนัก (ความจริงแล้ว ห้างออนไลน์เหล่านั้น ก็คือ e-Marketplace เช่นกัน) ที่ผู้ที่เป็นเจ้าของห้างจำเป็นต้องวางผังของห้องให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของหมวดหมู่สินค้า ซึ่งต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า การใช้กลยุทธ์ในเชิงรุก คือมุ่งหาผู้ขายสินค้าที่เราตั้งใจไว้จะให้เป็นส่วนหนึ่งของตลาดที่สร้างขึ้น เพื่อให้ครบองค์ประกอบหลัก เพราะหากปล่อยไปอาจจะทำให้เรามีร้านค้าในหมวดสินค้าหมวดใดหมวดหนึ่งมากเกินไป ฉะนั้นหากท่านเป็นเจ้าตลาดก็ควรจะต้องแสวงหาสินค้าต่าง ๆ เข้ามาเอง มากกว่านั่งรอให้ผู้ขายมาเปิดร้านสำหรับเทคนิคในการให้เจ้าของตลาดบนเว็บทั้งหลาย ได้จำนวนผู้ขายจำนวนมากเข้ามา ร่วมด้วย คือ การบริการฟรี หรือหากเก็บเงินก็เก็บกันแบบถูก ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ขายรู้สึกไม่ต้องเสี่ยงมากหากขายสินค้าไม่ได้ แต่ก็ต้องระวัง เพราะถึงจะฟรีอย่างไรก็ตาม เป้าหมายสูงสุดของผู้ขายก็คือ พวกเขาต้องขายสินค้าได้ เพราะหากขายไม่ได้ต่อให้ฟรีก็ปิดร้านหนีเช่นกัน หรือบางร้านไม่ปิด แต่ใช้วิธีปล่อยทิ้งร้านไม่ดูแลกก็อาจจะเป็นปัญหาต่อไปได้ การสร้างตลาดบนเว็บขึ้นมา มีข้อควรพิจารณาคือ ผู้ที่จะ เข้าไปร่วมค้าในตลาดใดตลาดหนึ่งก็ต้องพิจารณาเงื่อนไขให้ครอบคอบว่าจะได้หรือเสียมากกว่ากัน แต่อย่างไรก็ดีการค้าร่วมในตลาด ย่อมมีผลดีตรงที่ว่าผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าสินค้ามาสำรวจ หรือค้นหาที่เว็บไซต์ที่เป็น e-Marketplace เพียงจุดเดียว และเปรียบเทียบสินค้า ราคาและคุณภาพได้โดยง่าย ทำให้ผู้เสนอขายทุกรายมีโอกาสที่จะขายสินค้าได้ หากสินค้าของตนมีคุณลักษณะที่ตรงกับความต้องการ สำหรับเว็บไซต์ e-Marketplace ได้แก่ www.eceurope.com หรืออย่าง www.verticalnet.com ซึ่งเป็นศูนย์รวมของ e-Marketplace ของสินค้าต่าง ๆ ทั่วโลก

ปัจจัยที่ทำให้การค้า e-Commerce ไม่ประสบผลสำเร็จ

           ในการประกอบธุรกิจแบบ e-commerce นั้นมีทั้งประสบผลสำเร็จ และล้มเหลว ในที่นี้จะกล่าวถึงเว็บที่ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก (ศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2544)
           1. การลอกเลียนแบบ  เป็นการทำธุรกิจตามคนอื่นที่ทำอยู่ก่อนแล้ว เห็นทำเว็บก็ทำตาม เช่น บรรดาพอร์ทัลไซต์ทั้งหลาย ซึ่งที่เห็นหลายรายก็ทำตามทุกอย่าง ไม่มีส่วนใดต่อยอดให้ดีขึ้นเลยก็มี ซึ่งความจริงแล้วการลอกเลียนแบบอาจจะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน เพียงแต่ใช้หลักการเดียวกันเท่านั้น หรือก็อาจจะใช้กับกลุ่มเป้าหมายเดียวกันได้ หากกลุ่มเป้าหมายนั้นมีจำนวนมากพอ หรือมากขนาดที่ เว็บไซต์ที่มีอยู่เดิมไม่สามารถที่จะรองรับได้
           2. การอยู่กับความฝัน เป็นการอาศัยแนวความคิดแต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติให้เห็นจริง หรือทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ แนวคิดแรก ยังไม่ได้ทำให้เป็นจริงเลย ก็ไปทำแนวคิดที่สองแล้วเป็นอย่างนี้เรื่อยไป อย่างนี้ถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จ
           3. ทำเว็บไซต์ที่วิจิตรสวยงาม  การทำเว็บไซต์ให้สวยงาม เน้นความเลิศหรูจนลืมแก่นแท้ของความต้องการผู้ใช้เว็บหรือกลุ่มเป้าหมายไป กล่าวคือไม่ให้ความสำคัญแก่กระบวนการที่จะให้บริการลูกค้าผู้ใช้เว็บอย่างมีประสิทธิภาพ การได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และรวดเร็วจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งเราต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ก่อนที่จะไปตกแต่งโฮมเพจให้สวยงาม
           4. ทำเว็บไซต์แบบไร้ทิศทางการทำเว็บไซต์ที่นึกอะไรได้ก็ทำไปเรื่อยเปื่อย ไม่ได้นึกถึงความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์กัน อันจะก่อให้เกิดคุณค่าสูงสุดแก่ผู้ใช้งาน การทำเว็บไซต์ที่ดีนั้น หลักการคือต้องทำให้เกิดการเสริมกัน หรือ synergy คือทุกอย่างต้องเกื้อหนุนและมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน หรือในลักษณะครบวงจร (one-stop service) มาที่นี่ที่เดียวได้ครบหมดทุกอย่าง
           5. ไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอการไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอ คือเป็นประเภท ที่ได้แต่คิด แต่อาจจะไม่ได้มองว่า ระบบหรือเทคโนโลยีสนับสนุนหรือไม่ พอทำไปแล้วครึ่งทางถึงได้รู้ว่า มันไม่มีซอฟต์แวร์หรือเครือข่ายสนับสนุนได้อีกประการหนึ่งก็คือ ไม่ได้จัดหาทั้งคน ทั้งระบบ ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เตรียมพร้อมไว้ สำหรับการรองรับการขยายตัว ทำแล้วขยายตัวไม่ได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการขยายตัวเพื่อเข้าสู่จุดคุ้มทุนและทำกำไร ซึ่งในสภาพเช่นนี้ไม่มีทางเลือกที่ท่านจะประสบความสำเร็จ
           6. ทำงานได้ทีละอย่างการทำงานได้ทีละอย่าง กล่าวคือไม่สามารถจัดการกับการงานได้พร้อม ๆ กันหลายงาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการบริหารโครงการธุรกิจบนเว็บที่เราต้องทำงานได้หลาย ๆ รูปแบบในเวลาเดียวกัน จะทำที่ละเรื่องเมื่อเสร็จแล้วค่อยทำอีก เรื่องนี้จะไม่ทันกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาโดยตลาดจากทุกมุมโลก
           7. คิดเล็กเกินไป การดำเนินธุรกิจบนเว็บ นั้นถ้าหากคิดเล็กเกินไป ทำให้โครงการที่ทำออกมาไม่สามารถที่จะต่อยอดและขยายตัวออกไปได้ ทำให้ไม่สามารถจะสร้างยอดขายจำนวนมากให้คุ้มทุนได้ ทั้งนี้เพราะตลาดบนเว็บนั้นมันมีขนาดใหญ่มหาศาล ดังนั้นต้องคิดการใหญ่ มีการกำหนดทิศทางที่จะเติบโตไว้ด้วย

บทที่ 2 การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต


การปรับแต่คอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต
สำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อใช้งานภายในบ้าน  จำเป็นจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญที่จะสามารถเชื่อมต่อระหว่างผู้กับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ
  1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
  2. โมเด็ม
  3. โปรแกรมสำหรับการใช้งานอินเตอร์เน็ต
  4. วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
  5. การเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
  1. เมนบอร์ด  มีประสิทธิภาพสูงพอสมควรในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในทั่วไป  จะมีซีพียูรุ่น   Celeron, Pentium iv  และ amd  ซีพียุเหล่านี้จะรองรับการใช้งานระบบมัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการ์ดจอ  การ์ดเสียง  และลำโพง
  2. หน่วยความจำแรม  จะขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ แต่อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า  64-128   mb   ในปัจจุบันนิยมใช้   windows xp  หน่วยความจำแรมไม่ต่ำกว่า 256  mb 
  3. จอภาพและการ์ดแสดงผล    สามารถแสดงผลได้ตั้งแต่ 256  สีขั้นไป 
  4. ระบบมัลติมิเดีย คือ การ์ดเสียงพร้อมลำโพง  เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรุ่นจะมีให้เฉพาะ การ์ดเสียง  และลำโพงเท่านั้น   อุปกรณ์เสริมอื่นๆ คือ  ไมโครโฟน และกล้องเว็บแคม ผู้ใช้จะต้องหาเพิ่มเติมเองเมื่อต้องการใช้งาน

โมด็ม
        โมเด็ม  หรือ  ( modulator/demodulator)  มีหน้าที่แปลงข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล ของระบบคอมพิวเตอร์ให้เป้นสัญญาณเสียงในรูปแบบแอนะล็อก เพื่อให้สามารถส่งไปทางโทรศัพท์ได้  การ  modulate โดยที่ปลายทางก็จะมีโมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงในรูปแบบแอนะล็อก   ซึ่งรับมาจากโทรศัพท์ให้กลับมาเป็นข้อมูลแบบดิจิทัล เพื่อใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์  เรียกว่า   demodulate  เนื่องจากสายโทรศัพท์ส่วนใหญ่จะสามารถส่งข้อมูลได้ ไม่เกิน 56 kbps   โมเด็มแบ่งออกเป็น  3  ประเภท 
  1. โมเด็มแบบภายใน
  2. โมเด็มแบบภายนอก
  3. โมเด็มแบบ  pcmcia 
โปรแกรมสำหรับการใช้งานอินเตอร์เน็ต

      1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ   จำเป็นมากสำหรับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชนิด  เพราะจะเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ ในระบบในระบบ หน่วยความจำ  การบันทึกข้อมูล และอุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่นๆ 
         2.โปรแกรมเว็บบราว์เซอร์  คือ  โปรมแกรมที่ใช้เปิดเว็บเพจต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต   โปรมแกรมนี้จะสามารถมากมายที่จะเป็นประโยชน์ในการท่องเว็บ
      3.โปรแกรมรับส่งจดหมายอิแล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่ข้อมูลจดหมายโดยสร้างโฟลเดอร์สำหรับเก็บจดหมายไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
        4.โปรแกรมสำหรับการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต    ใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตด้วยกัน ในรูปแบบของการพิมพ์ข้อความโต้ตอบ เรียกว่า chat 
         5.โปรแกรมมัลติมีเดียบนอินเตอร์เน๊ต ใช้งานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันมีหลากหลายรู้แบบ  ทั้งรูปภาพ  ภาพเคลื่อนไหว เสียง  วีดีทัศน์   

วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
          จะใช้โมเด็มแบบหมุนโทรศัพท์     เรียกว่า “dial –up’’  ทำหน้าที่แปลงข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของดิจิทัล ให้เป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบแอนะล็อก เพื่อส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ ความเร็วของการส่งข้อมูลอยู่ที่  33.6   kbps   และสำหรับการรับข้อมูลอยู่ที่  56  kbps
        การรับส่งข้อมูลแบบบรอดแบนด์ 
       1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ  isdn ( intergrated   services digital network )
       2.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ  adsl ( asymmetric digital subscriberv link )
       3.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบเคเบิลโมเด็ม ( cable  modem  )
       4.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านดาวทียม ( satellite )
         5.การเชื่อต่ออินเตอร์เน็ตแบบวงจรเช่า ( leased line ) 

1.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ  isdn 
        ถ้าต้องการใช้ระบบ  isdn    จะต้องขอหมายเลขโทรศัพท์ใหม่ที่เป็น isdn  การให้บริการ isdn แบ่งออกเป็น 2 ระดับ
           Bai   สำหรับผู้ใช้รายย่อย   ตามบ้านพัก หรือหน่วยงานขนาดเล็ก มีความเร็วเต็มที่ 128  mbps
        Pri    สำหรับองค์กรขนาดใหญ่โดยการเดินสายเคเบิลใยแก้วนำแสง จะมีช่องสัญญาณสำหรับการสื่อสาร 30  ช่องสัญญาณ แต่ละช่องมีความเร็วที่ 64  kbps

2.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ  adsl  การบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงโดยผ่านทาง สามารถ  ใช้กับการเชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์แบบเดิม สามารถเปลี่ยนสายโทรศัพท์ธรรมดาให้เป็นสายดิจิทัล มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง

3.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบเคเบิลโมเด็ม  มีความเร็วสูงที่ไม่ต้องใช้สายโทรศัพท์ อาศัยเครือข่ายเคเบิลจากผู้ให้บริการ   ถ้าต้องการใช้บริการแบบเคเบิลโมเด็มจะต้องใช้บริการของ  asia  net  การทำงานของเคเบิลโมเด็มจะคล้ายกับ  adsl  มีการเข้ารหัสสัญญาณดิจิทัลด้วยความถี่สูง แล้วส่งผ่านสายเคเบิลไปยัง ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต กรณีนี้สายโคแอกเซียลทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง

4.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม
 เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง มีผู้ให้บริการเพียงรายเดียว  cs  internet ในเครือชินคอร์ปอเรชั่นเจ้าของดาวเทียมไทยคม  การรัยข้อมูลด้วยสัญญาณความเร็วสูงมามายังผู้ใช้ในระดับเมกะบิตผ่านดาวเทียมโดยผู้ใช้จะต้องติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม ส่วนการส่งข้อมูล ทำการผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์มีความเร็วแค่ 56   kbps    การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม เป็นช่องทางที่ถูกรบกวนได้ง่ายจากสภาพดินฟ้าอากาศควรเตรียมช่องทางอื่นในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไว้สำรองในการใช้งาน

5.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบวงจรเช่า 
การเชื่อมเอนเตอร์แบบ    leased  line  จะเหมาะกับการใช้งานสำหรับองค์กร สถาบันการศึกษา หรือระบบธุรกิจต่างๆที่มีผู้บริการเอนเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก โดยไม่ต้องหมุนโทรศัพท์เข้าไปยังศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตเพราะการเชื่อมแบบ  leased  line  จะเชื่อมกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตตลอด 24  ชั่วโมง
                ค่าใช้จ่ายในการเช่าต้องเป็นรายเดือน     โดยจะเสียค่าบริการตามความเร็วที่เช่าสายสัญญาณเป็นอัตราเดียวกันทุกเดือน และไม่ต้องเสียค่าบริการตามชั่วโมงการใช้งานอีก
                ในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีผู้ใช้บริการเอนเตอร์เน็ตจำนวนมาก จะนิยมการเชื่อมต่อเอนเตอร์เน็ตแบบนี้ เพราะสามารถใช้งานเอนเตอร์เน็ตได้โดยไม่จำกัดปริมาณการงาน  โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาต่างๆ จะต้องให้บริการแก่นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรในหน่วยงาน

การเลือกให้ผู้บริการเอนเตอร์เน็ต (isp)

โดยมีวิธีหลักการที่ต้องคำนึง  ดังต่อไปนี้
1.        ความน่าเชื่อถือ  ควรจะพิจารณาว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตบริษัทนั้นมีความน่าถือในการให้บริการมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะสามารถหาข้อมูลได้โดยการสอบถามจากผู้เคยใช้บริการโดยตรง
2.        ประสิทธิภาพของระบบ  โดยพิจารณาจากความเร็วใยการรับส่งข้อมูล การเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์หลุดบ่อยหรือไม่  หรือในขณะที่เรากำลังทำการโอนย้ายข้อมูล  และเกิดสายโทรศัพท์หลุดก็จะทำให้เราต้องเสียเวลาในการโอนย้ายข้อมูลใหม่
3.        หมายเลขโทรศัพท์  ผู้ให้บริการเอนเตอร์เน้ตจะต้องมีช่องทางให้กับบริการด้วยโมเด็ม ดังนั้นจำนวนผู้บริการจะต้องสำพันธ์กับหมายเลขโทรศัพท์ที่จัดหาไว้
4.        อัตราการใช้โมเด็ม  ผู้ให้บริการเอนเตอร์เน็ตจะต้องมีคู่สายโมเด็มเพียงพอต่อการรองรับการใช้บริการของลูกค้า
5.        ค่าบริการ  โดยเราเลือกซื้อตามปริมาณการใช้งานของเราได้เพื่อให้คุ้มค่าต่อปริมาณค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไป
6.        ค่าธรรมเนียมต่างๆ  พิจารณาว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแต่ละแห่ง นอกเหนืออัตราค่าบริการแล้วมีการคิดค่าธรรมเนียมอื่นๆ อีกหรือไม่
7.        บริการเสริม  ผู้บริการอินเตอร์เน็ตได้มีบริการเสริมอื่นๆ  ให้บริการอีกหรือไม่ เช่น  มีพื้นที่ว่างสำหรับการสร้าง Homepage และมี E – mail Address ให้ด้วยหรือไม่




                                                                              แบบฝึกหัด





การติดตั้งโปรแกรมเชื่อมต่อ dial-up connection

การติดตั้ง Dial up Connection สำหรับ Windows Vista เพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่บริการ TOT online 1222
 1. คลิก Mouse เลือก Start à Connect to (หรืออีกวิธีหนึ่งให้เลือก Start à Control Panel à Network and Internet à Network and Sharing Center)
2. คลิก Mouse ที่ Set up a connection or network ซึ่งอยู่ด้านล่าง
3. เลือก Set up a dial up connection

4. คลิก Next แล้วใส่ข้อมูลที่ต้องการเชื่อมต่อดังนี้
Dial up phone number ให้ใส่เลขหมาย 1222
User name ให้ใส่ User name ที่ลงทะเบียนไว้ เช่น totonline@totonline.net
Password ให้ใส่ Password ที่ลงทะเบียนไว้ เช่น tot online
Remember this password คลิก mouse ให้มีเครื่องหมาย ในช่องนี้ เพื่อ Save ค่าพาสเวิร์ด
Connection Name ตั้งชื่อไอคอนเป็นชื่อใดก็ได้ที่จดจำได้ง่าย เช่น ชื่อของ ISP ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
Show Characters หากคลิก mouse ให้มีเครื่องหมาย ในช่องนี้ จะทำให้มองเห็นค่าพาสเวิร์ดขณะที่คีย์ หากไม่คลิกเลือก จะปกปิดค่าพาสเวิร์ดและแสดงเป็น Bullet สีดำแทน
Allow other people to use this connection คลิก mouse ให้มีเครื่องหมาย ในช่องนี้ หากต้องการให้คนอื่นที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านใช้ไอคอนนี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วย (แนะนำให้เลือก)
5. คลิก Mouse ปุ่ม Connect (หรือปุ่ม Create) เพื่อทำการสร้าง และ Save ไอคอนไว้ 
เมื่อสร้างไอคอนที่ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเสร็จเรียบร้อยจะปรากฏหน้าจอดังด้านล่างให้เห็น จากนั้นคลิก mouse ปุ่ม close
6.  เมื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้แล้ว จะสังเกตเห็นสัญลักษณ์รูปคอมพิวเตอร์คู่ขนาด          เล็ก อยู่ที่ Task Bar ด้านล่างขวาของเครื่อง ให้เปิดโปรแกรม Browser ที่ติดตั้งไว้ เช่น       Internet Explorer หรือ Netscape เพื่อท่องอินเทอร์เน็ตที่ต้องการ
เมื่อต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
                เลือก Start à Connect to
                คลิก Mouse เลือกชื่อไอคอนซึ่งได้สร้างไว้ แล้วคลิก mouse ที่ปุ่ม Connect
                ด้านล่างหน้าต่างวินส์โดว์สำหรับ Dial up จะปรากฏขึ้นมา แล้วคลิก mouse ที่ปุ่ม Dial จากนั้น    เครื่องจะทำการเชื่อมต่อเข้าสู่บริการอินเทอร์เน็ต TOT online

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน้ต

1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน
(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้

 องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล
              1. โทรศัพท์
              2. เครื่องคอมพิวเตอร์
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
              4. โมเด็ม (Modem)

2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)          1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

         2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
            1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
            2. GPRS (General Packet Radio Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ
อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
           3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
           4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้
้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
         3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)
             ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์
ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวด


การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง          1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
            เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์
ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
      
           องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN

            1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
            2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
            3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )

         2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)          
             เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps
และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
          องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
            1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
            2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
            3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
            4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net

          3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
            ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูง
นี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem
ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps
และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
        
               องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย ADSL

              1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
              2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net

       4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download)ด้วยความเร็วสูง
ในระดับเมกะบิตต่อวินาทีแต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
        
              องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยดาวเทียม

              1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
              2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
              3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
              4. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น