วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การตอบจดหมายกลับ

หลังจากที่ได้เปิดอ่านจดหมายแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนการตอบจดหมาย การตอบจดหมายจำเป็นต้องมีจดหมายเปิดค้างไว้เสมอ หากท่านปิดจดหมายไปแล้วก็ขอให้เปิดจดหมายขึ้นมาใหม่ ขั้นตอนการตอบจดหมายมีดังนี้

ขั้นตอน

1.เมื่ออ่านข้อความจดหมายจบแล้ว และต้องการตอบจดหมายกลับให้คลิกที่ปุ่ม Reply





2.สังเกตที่ช่อง To จะมี e-Mail Address ของผู้ที่ส่งจดหมายมาหาท่านปรากฏอยู่ ซึ่งท่านไม่ต้องพิมพ์ e-Mail Address ลงในช่องนี้ จากนั้นให้พิมพ์ข้อความตอบจดหมายเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Send




3.เมื่อส่งจดหมายเสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้กรอบยืนยันการส่งจดหมาย ดังภาพ 



ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการรับและตอบจดหมาย 

การส่งต่อจดหมาย

5. การส่งต่อจดหมาย
ท่านสามารถส่งต่อจดหมายที่ท่านได้รับไปให้บุคคลอื่นได้ โดยสามารถทำได้ 2 แบบ ได้แก่
  • ส่งต่อจดหมายแบบ Redirect หมายถึง การส่งต่อจดหมายโดยคงชื่อผู้ส่งเดิมไว้
  • ส่งต่อจดหมายแบบ Forward หมาย ถึง การส่งต่อจดหมายโดยใช้ชื่อผู้ส่งต่อ เนื้อหาของจดหมายที่ส่งต่อสามารถถูกดัดแปลง แก้ไข เพิ่มเติม หรือถูกลบออกโดยผู้ส่งต่อได้
5.1 ส่งต่อจดหมายแบบ Redirect ( จดหมายที่คงชื่อผู้ส่งจดหมายคนเดิม)
5.1.1 คลิกที่ Redirect



5.1.2 พิมพ์ที่อยู่อีเมลของผู้รับ
5.1.3 คลิกที่ Send Message เพื่อส่งจดหมาย
5.2 การส่งจดหมายแบบ Forward (ชื่อผู้ส่งต่อจดหมายเป็นชื่อผู้ส่งจดหมาย)
5.2.1 คลิกที่ Forward
5.2.2 พิมพ์ชื่อที่อยู่อีเมลของผู้รับ ผู้ส่งสามารถเพิ่มเติมข้อความหรือ
ลบข้อความตามที่ต้องการก่อนส่งต่อจดหมายได้



5.2.3 คลิกที่ Send Message เพื่อส่งจดหมาย

การลบจดหมาย

เมื่อท่านใช้บริการรับส่งจดหมาย e-Mail มาถึงระดับหนึ่ง จดหมายจะเต็มกล่องเก็บจดหมาย เมื่อจดหมายเต็มกล่องเก็บแล้วจะส่งผลให้โปรแกรม  Mail ไม่ทำงาน การจัดการลบจดหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง ขั้นตอนการลบจดหมายมีดังนี้
ขั้นตอน
1. คลิกที่ Inbox เมื่อคลิกแล้วจะได้กรอบ Inbox ดังภาพ





2. จากนั้นคลิกเครื่องหมายถูกที่กรอบสี่เหลี่ยม ดังภาพ แล้วคลิกปุ่ม Delete ตามลำดับ



3.จดหมายก็จะถูกลบออกจากกล่อง Inbox จดหมายที่ถูกลบออกไปจะถูกนำไปเก็บที่ Trash Can และจะถูกลบโดยอัตโนมัติต่อไป นั้นหมายความว่าหากท่านลบจดหมายผิด ท่านยังสามารถกู้จดหมาย จากกล่อง Trash Can นี้ได้ โดยการ คลิกที่ Trash Can แล้วคลิกเครื่องหมายถูกในกรอบสี่เหลี่ยมหน้าจดหมายที่ต้องการกู้ จากนั้นมาคลิกที่เมนู Recover to Folder แล้วเลือกกล่องจดหมายที่ต้องการกู้ไปเก็บไว้ ดังภาพ


การกู้จดหมายกลับคืน

โดยทั่วไป คุณสามารถกู้คืนกล่องจดหมายที่ลบได้ ถ้ากล่องจดหมายนั้นถูกลบในระยะเวลาไม่เกิน 30 วันที่ผ่านมา สำหรับคำอธิบายเมื่อกล่องจดหมายที่ถูกลบไม่สามารถกู้คืนได้ โปรดดูที่ กล่องจดหมายที่ลบ
คุณสามารถกู้คืนกล่องจดหมายที่ถูกลบในแผงควบคุม Exchange สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ การกู้คืนกล่องจดหมายที่ถูกลบ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถใช้ Windows PowerShell หากคุณต้องการ ตัวเลือกของคุณมีดังนี้

ก่อนที่จะเริ่มต้น

  • เมื่อต้องการเรียนรู้วิธีติดตั้งและกำหนดค่า Windows PowerShell และเชื่อมต่อกับบริการ โปรดดูที่ การใช้ Windows PowerShell
  • คุณสามารถใช้ Get-RemovedMailbox cmdlet เพื่อดูกล่องจดหมายที่สามารถกู้คืนได้ในองค์กรของคุณ ถ้ากล่องจดหมายที่ถูกลบไม่ปรากฏในรายการ กล่องจดหมายนั้นจะไม่สามารถกู้คืนได้ ถ้า Get-RemovedMailbox แสดงกล่องจดหมายที่ถูกลบมากกว่าหนึ่งกล่องสำหรับผู้ใช้ ให้ระบุกล่องจดหมายที่ถูกลบที่ถูกต้องในผลลัพธ์ และใช้ค่า SAMAccountName หรือ GUID ของกล่องจดหมายที่ถูกลบเพื่อระบุกล่องจดหมายที่ถูกลบโดยใช้พารามิเตอร์ RemovedMailbox
  • เมื่อกล่องจดหมายถูกลบ คุณสมบัติกล่องจดหมายต่อไปนี้จะไม่ได้รับการแก้ไข เพื่อให้คุณสามารถใช้คุณสมบัติเหล่านี้ในการระบุกล่องจดหมายที่ถูกลบ
    • Name   โปรดสังเกตว่า Name และ DisplayName คือคุณสมบัติกล่องจดหมายที่แตกต่างกันซึ่งอาจมีค่าเดียวกันหรือค่าอาจแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
    • WindowsLiveID สำหรับองค์กร Live@edu
    • MicrosoftOnlineServicesID สำหรับองค์กร Microsoft Office 365
    • SAMAccountName
    • Guid

การกู้คืนกล่องจดหมายที่ถูกลบ และสร้าง Windows Live ID ใหม่ใน Live@edu

กระบวนการนี้ใช้ไวยากรณ์เดียวกับกระบวนการก่อนหน้าที่กู้คืนกล่องจดหมายที่ถูกลบที่มี Windows Live ID เดิมและรหัสผ่านใหม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องการสร้าง Windows Live ID ใหม่สำหรับกล่องจดหมายที่กู้คืน คุณต้องระบุ Windows Live ID ที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง
ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณลบกล่องจดหมายสำหรับผู้ใช้ที่ชื่อ Ayla Kol ซึ่งมี Windows Live ID คือ akol@contoso.edu เมื่อต้องการกู้คืนกล่องจดหมายและสร้าง Windows Live ID ใหม่โดยใช้ชื่อว่า aylakol@contoso.edu ที่มีรหัสผ่าน Pa$$word1 ให้เรียกใช้คำสั่งต่อไปนี้:
 
New-Mailbox -Name "Ayla Kol" -RemovedMailbox "Ayla Kol" -WindowsLiveID aylakol@contoso.edu -Password (ConvertTo-SecureString -String 'Pa$$word1' -AsPlainText -Force)

บทที่ 5 เครือข่ายใยแมงมุม

เครือข่ายใยแมงมุม หรือ WWW (World Wide Web)
หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "เว็บ"

                เวิลด์ ไวด์ เว็บ เป็นบริการหนึ่งที่อยู่บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพัฒนาของเครือข่าย
ใยแมงมุม ได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านมัลติมีเดีย
ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความมหัศจรรย์ให้กับการศึกษาในโลกไร้พรมแดน และกลายเป็นแหล่งทรัพยากร
ของกระบวนการเรียนการสอนที่สนองต่อกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดียิ่ง
                เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้มีผู้สนใจใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก เนื่องจากการใช้บริการ อินเทอร์เน็ต
ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข่าวสารข้อมูล การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสำเนา แฟ้มข้อมูล ฯลฯ จะอยู่ในรูปแบบ
ของตัวอักษร (Text Mode)เท่านั้น ไม่มีการแสดงที่เป็นรูปภาพ เสียง ภาพยนตร์ และไม่มีอักษรแบบต่าง ๆ ปรากฎ
ให้เห็นแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้การใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์มากมาย เช่น ต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้น
ของยูนิกซ์ (UNIX) เนื่องจากเมื่อจะมีการเรียกใช้งานอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ จะอยู่ภายใต้ระบบ
ปฏิบัติการยูนิกซ์ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ เพื่อทำการป้อนคำสั่งที่เป็นตัวอักษรด้วยตัวเอง
                จนกระทั่งมีบริการที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) หรือ เครือข่ายใยแมงมุมเกิดขึ้นทำให้
ความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้น เนื่องจาก WWW เป็นบริการหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ที่ใช้งานได้ง่าย สะดวก
ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไป การอ่านและค้นหาข้อมูลสามารถกระทำได้เพียงแต่กดปุ่มเมาส์เพียงอย่างเดียว
เท่านั้น
                การที่จะใช้บริการ WWW ได้นั้นจำเป็นจะต้อง มีส่วนประกอบ 2 ส่วน ดังนี้
                1. แหล่งข้อมูล หรือเว็บไซต์ (Web Site)
              2.
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)

แหล่งข้อมูล หรือ เว็บไซต์
           
คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บเว็บเพจ ที่ผู้ใช้บริการสามารถเรียกดูเว็บเพจที่ เก็บอยู่ใน
เว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์อาจจะใช้ระบบปฏิบัติ
  
                 เว็บเพจเป็นเอกสารแบบไฮเปอร์เท็ก (Hypertext document) เก็บอยู่ที่เว็บไซต์ต่าง ๆ
ในรูปของแฟ้ม ข้อมูลที่มักจะสร้างขึ้นด้
การ ยูนิกซ์ (UNIX) หรือ
วินโดวส์เอนที (Windows NT) ก็ได้ ผู้เป็นเจ้าขอเว็บไซต์จะจัดสร้างเว็บเพจ ของตนเก็บไว้ที่เว็บไซต์เพื่อให้
ผู้ใช้คนอื่นทั่วโลก สามารถเข้ามาดูเว็บเพจที่เก็บไว้ในเว็บไซต์นั้นได้ เช่นเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จะเก็บอยู่ที่เว็บไซต์
http://ww.swu.ac.th   เขียนด้วย
ภาษา HTML (Hypertext Markup Language)
โดยมีนามสกุลเป็น htm หรือ html
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)                    เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ ในการเข้าสู่ WWW และเปิดดูเว็บเพจ ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลนั้น
ขึ้นมาแสดง ได้โดยใช้โปรแกรม ประเภท Web Browser เช่น Netscape หรือ Internet Explorer
เว็บเพจที่เป็นหน้าแรก ของเว็บเพจ นิยมเรียกกันว่า "โฮมเพจ" (Home Page)
                การเข้าถึงเว็บเพจใดๆ นั้นผู้ใช้จะต้องทราบตำแหน่งที่อยู่ของเพจนั้น ๆ บนเว็บเสียก่อน
ตำแหน่งที่อยู่ เหล่านี้ เรียกว่า URL (Uniform Resource Locators) ตัวอย่างของ URL ได้แก่
http://www.swu.ac.th        URL ที่เป็นโฮมเพจของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
http://www.tv5.co.th         URL ที่เป็นโฮมเพจของสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง5
http://www.nectec.or.th     URL ที่เป็นโฮมเพจของ NECTEC
http://www.yahoo.com      URL ที่เป็นโฮมเพจของ Yahoo
http://www.srithai.com      URL ที่เป็นโฮมเพจของ  Srithai
http://www.geocities.com/TheTropics/Paradise/2703    URL โฮมเพจฟรีของ Geocities

หมายเลขประจำเครื่อง (Ip Address)

หมายเลขประจำเครื่อง ( IP address)
         หมายเลขประจำเครื่อง  หรือที่อยู่(address) ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตแต่ละคน จะมีที่อยู่ประจำเครื่อง ซึ่งกำหนดเป็นตัวเลขระบุตำแหน่ง เช่น 202.44.202.22 เป็นต้น แต่ระบบตัวเลขนี้จะสามารถจดจำได้ยาก และไม่สื่อความหมายต่อผู้ใช้ ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นระบบตั้งชื่อที่ง่ายต่อการจดจำและสื่อให้เข้ากับงานเรียกว่า
DNS(Domain Name System) 
โดยเรียงลำดับความสำคัญ ของชื่อจากขวาไปซ้าย เช่น
1202.244.3202.422
1www.2tu.3ac.4th
1. www มาจาก World Wide Web
2.  tu มาจาก Thammasat University
3.  ac มาจาก Academic (ด้านวิชาการ)
4. th มาจาก thailand (ชื่แประเทศ)
หลักในการตั้ง DNS มีหลักการดังนี้
  • ชื่อทางขวาสุดจะบอกชื่อประเทศ เช่น th-ประเทศไทย ,uk-ประเทศอังกฤษ , ca-ประเทศแคนาดา
  • ลำดับถัดจากชื่อประเทศเป็นลักษณะการดำเนินงานขององค์กร คือcom = Commercial =  ใช้ในกิจการธุรกิจการค้า บริษัท ห้างร้าน
    edu = Education     =  ใช้ในสถาบันการศึกษา
    gov = Government =   ใช้ในหน่วยงานราชการ
  • ลำดับถัดมาจากขวา เช่น
            ac   = Academic        =   สถาบันการศึกษา
            co   = Commercial     =   องศ์กรภาคเอกชน
            go   = Government    =   หน่วยงานราชการ
            or    = Organization    =   องศ์กรรัฐวิสาหกิจ
            net  = Network            =  องศ์กรที่ให้บริการระบบเครือข่าย

โดเมนเนม (Domain Name)

ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (อังกฤษ: domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมลแอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งเราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้
โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป
อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A - Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  • การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ
  • การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ

 การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ

  1. .com ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
  2. .net ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
  3. .org ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย
หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อโดเมน

  1. ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
  2. สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
  3. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้
  4. ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ domain
  5. ห้ามเว้นวรรคในชื่อโดเมน

รหัสสืบค้นแหล่งข้อมูล

รหัสสืบค้นแหล่งข้อมูล
 โปรแกรมสืบค้นหาข้อมูล

            ในการสืบค้นข้อมูลนั้นจำเป็นจะต้องมีโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มข้อมูล  ซึ่งมีอยู่หลายประเภท  ได้แก่           
1.  โปรแกรมอาร์คี (Archie)  เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มข้อมูลที่เราทราบชื่อ  แต่ไม่ทราบตำแหน่ง ที่อยู่ของแฟ้มข้อมูล  ว่าอยู่ในเครื่องบริการใดๆ ในอินเตอร์เน็ต  โดยโปรแกรมอาร์คีนั้นจะสร้างบัตรรายการแฟ้มไว้ใน ฐานข้อมูล  ซึ่งหากเราต้องการค้นหาตำแหน่งของแฟ้มข้อมูลก็เปิดโปรแกรมอาร์คีนี้ขึ้นมาล้วให้พิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูล ที่ต้องการลงไป  โดยโปรแกรมอาร์คีจะตรวจค้นฐานข้อมูลให้ปรากฏชื่อแฟ้ม และ รายชื่อเครื่องบริการที่เก็บแฟ้มนั้นขึ้นมา ซึ่งหลังจากทราบชื่อเครื่องบริการแล้วเราก็จะสามารถใช้ FTP ถ่ายโอนเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราไ้้ด้

         2.  โปรแกรมโกเฟอร์ (Gopher) เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูล  ซึ่งใช้บริการด้วยระบบเมนูโปรแกรมโกเฟอร์ เป็นโปรแกรม ที่มีรายการเลือก  เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้งานในการค้นหาข้อมูล
การใช้งาน โปรแกรมนี้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบ รายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ เชื่อมโยงอยู่กับอินเตอร์เน็ตใดๆ เลย  เราแค่เพียงเลือกรายการที่ต้องการในรายการเลือก และกดปุ่ม <Enter> ซึ่งเมื่อมีข้อมูลแสดงขึ้นมาแล้ว เราก็สามารถอ่านข้อมูลนั้น และบันทึกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้


         3.  โปรแกรม Veronica เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลที่ได้รับการพัฒนามาจากโปรแกรมโกเฟอร์  โดยการค้นหาข้อมูล  จะทำได้โดยไม่ต้องผ่านระบบเมนู  เพียงแค่พิมพ์คำสำคัญ  หรือ  ให้ระบบได้ทำการค้นหาข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับ Keyword
         4.  โปรแกรมเวส (Wide Area Information Server-WAIS)  เป็นโปรแกรมที่เป็น
เครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล โดยทำการค้นหาจากเนื้อหาของข้อมูล  ซึ่งการใช้งา้นต้องระบุ
ุชื่อเรื่อง  หรือชื่อของคำหลักที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของข้อมูล ที่ต้องการ  ซึ่งโปรแกรมเวสจะช่วยค้นหาไปยังแหล่งข้อมูลที่เชื่อมต่ออยู่ภายในอินเตอร์เน็ต

         5. โปรแกรม Search Engines เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน  โดยให้พิมพ์คำ  หรือข้อความที่เป็น Keyword จากนั้นโปรแกรม Search
Engines จะแสดงรายชื่อของแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ี่เกี่ยวข้องขึ้นมาให้เราได้เลือกคลิกที่รายชื่อของแหล่งข้อมูลนั้น  เพื่อเลือกข้อมูลที่ต้องการได้  ซึ่งการจัดการแหล่งข้อมูลเหล่านั้นโปรแกรม Search Engines จะจัดไว้เป็นเมนู  โดยเริ่มจากข้อมูลในหมวดใหญ่ๆ ไปจนถึงข้อมูลในหมวดย่อยๆ   

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การเชื่อมโยงข้อมูล (link)

การเชื่อมโยงข้อมูล (link)
จากการที่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางอยู่ทั่วโลกนั่น เป็นผลมาจากความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูล (link) จากข้อมูลหนึ่งไปยังอีกข้อมูลหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถเชื่อมโยงข้อความได้ทั้งจากภายในแฟ้มเอกสารข้อมูลของภายใน และแฟ้มเอกสารข้อมูลภายนอก
ข้อความที่ใช้เป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูลนั้น จะมีตัวอักษรเป็นสีน้ำเงิน (หรือสีอื่นตามแต่ที่ผู้สร้างกำหนดขึ้นมา) เมื่อเลื่อนเมาส์ไปชี้ที่ข้อความซึ่งมีการเชื่อมโยง รูปแบบของตัวชี้จะเปลี่ยนจาก สัญลักษณ์ลูกศรไปเป็นรูปมือแทน
ประเภทของการเชื่อมโยง ใน HTML แบ่งการเชื่อมโยงออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
  • การเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์
  • การเชื่อมโยงนอกเว็บไซต์
ตำแหน่งสำหรับคลิกเพื่อทำการเชื่อมโยงข้อมูล จะเรียกว่าจุดเชื่อมโยง หรือจุด Link ซึ่งใช้ได้ทั้งตัวอักษร ข้อความ หรือรูปภาพ
คำสั่งที่ใช้เชื่อมโยงข้อมูล คือ
    <a href=" ชื่อไฟล์ หรือ URL" >ข้อความหรือรูปภาพที่จุด Link</a>
       Attribute ที่ใช้ร่วมกับการสร้าง Link ซึ่งจะต้องนำมาวางต่อจากคำสั่งสร้าง link และใช้คำสั่ง target= คุณสมบัติด้านล่าง เช่น
     <a href=" ชื่อไฟล์" target=_blank>ข้อความหรือรูปภาพที่จุด Link</a>

    _blank   = เปิดหน้าเอกสารใหม่โดยที่หน้าเดิมยังคงอยู่
    _self      = เปิดหน้าใหม่โดยที่หน้าเดิมเปลี่ยนไปบางส่วน หากว่าใช้กับ เฟรม
    _parent = เปิดหน้าใหม่โดยที่หน้าเดิมเปลี่ยนไป
    _top      = เปิด file ที่หน้าเดิมโดยจะไปด้านบนสุดของหน้าเว็บเพจ

บทที่4 การใช้งานเว็บบราว์เซอร์

การเริ่มต้นใช้งาน Internet Explorer 9

Windows Internet Explorer 9 มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัยและมีคุณลักษณะใหม่ๆ จำนวนมากที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียกดูเว็บของคุณได้อย่างสูงสุด
ดูวิดีโอนี้เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เปลี่ยนไปใน Internet Explorer 9 (2:25)
Get Microsoft Silverlight

การใช้ตัวควบคุมใหม่ของเบราว์เซอร์

สิ่งแรกที่คุณจะสังเกตเห็นได้เมื่อเปิด Internet Explorer 9 ก็คือการออกแบบที่ดูเรียบง่าย คุณสามารถค้นหาฟังก์ชันของแถบคำสั่งส่วนใหญ่ เช่น พิมพ์ หรือ ย่อ/ขยาย เมื่อคุณคลิกปุ่ม 'เครื่องมือ' รูปภาพของปุ่ม 'เครื่องมือ' และรายการโปรดรวมถึงเนื้อหาสรุปของคุณจะปรากฏขึ้นใน 'ศูนย์กลางรายการโปรด' เมื่อคุณคลิกปุ่ม 'รายการโปรด' รูปภาพของปุ่ม 'รายการโปรด'
รูปภาพของ 'ศูนย์กลางรายการโปรด'ศูนย์กลางรายการโปรด
แท็บจะปรากฏทางด้านขวาของแถบที่อยู่โดยอัตโนมัติ แต่คุณสามารถย้ายแท็บเหล่านั้นให้ไปปรากฏที่ด้านล่างของแถบที่อยู่ได้ในลักษณะเดียวกับรุ่นก่อนหน้านี้ของ Internet Explorer คุณสามารถแสดงแถบรายการโปรด แถบคำสั่ง แถบสถานะ และแถบเมนูได้ทุกเมื่อด้วยการคลิกขวาที่ปุ่ม 'เครื่องมือ' รูปภาพของปุ่ม 'เครื่องมือ' แล้วทำการเลือกบนเมนู
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวควบคุมพื้นฐาน ให้ดูที่

การตรึงไซต์กับแถบงาน

คุณสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ที่คุณเข้าเยี่ยมชมเป็นประจำได้ด้วยการตรึงเว็บไซต์เหล่านั้นไว้กับแถบงานบนเดสก์ท็อป Windows 7 ของคุณ
รูปภาพของไซต์ที่ตรึงไซต์ที่ตรึง
การตรึงไซต์สามารถทำได้โดยง่าย ดังนี้ เพียงแค่ลากแท็บของไซต์นั้นไปยังแถบงานซึ่งไอคอนของเว็บไซต์จะยังคงอยู่จนกว่าคุณจะเอาออก เมื่อคุณคลิกไอคอนนั้นในภายหลัง เว็บไซต์ดังกล่าวก็จะเปิดขึ้นใน Internet Explorer
เมื่อใดก็ตามที่คุณเปิดไซต์ที่ตรึงไว้ ไอคอนเว็บไซต์จะปรากฏที่ด้านบนของเบราว์เซอร์ เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงเว็บเพจดั้งเดิมที่คุณตรึงไว้ได้อย่างง่ายดาย ปุ่ม 'ย้อนกลับ' และ 'ไปข้างหน้า' จะเปลี่ยนสีให้ตรงกับสีของไอคอน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มและการเอาไซต์ที่ตรึงไว้ออก ให้ดูที่ การตรึงเว็บไซต์กับแถบงานของคุณ

การค้นหาในแถบที่อยู่

ในตอนนี้ คุณสามารถค้นหาได้โดยตรงจากแถบที่อยู่แล้ว ถ้าคุณป้อนที่อยู่ของเว็บไซต์ คุณจะไปที่เว็บไซต์นั้นได้ในทันที ถ้าคุณป้อนคำที่ใช้ค้นหาหรือที่อยู่ที่ไม่สมบูรณ์ คุณจะเปิดใช้งานการค้นหาโดยใช้โปรแกรมค้นหาที่เลือกไว้ในปัจจุบัน คลิกแถบที่อยู่เพื่อเลือกโปรแกรมค้นหาจากไอคอนที่แสดงอยู่หรือเพื่อเพิ่มโปรแกรมค้นหาใหม่
รูปภาพของการค้นหาในแถบที่อยู่การค้นหาในแถบที่อยู่
เมื่อคุณค้นหาจากแถบที่อยู่ คุณจะมีตัวเลือกของการเปิดเพจผลลัพธ์การค้นหาหรือผลลัพธ์การค้นหายอดนิยม (ถ้าผู้ให้บริการการค้นหาที่คุณเลือกสนับสนุนคุณลักษณะดังกล่าว) คุณยังสามารถเปิดใช้งานข้อเสนอแนะการค้นหาที่เป็นตัวเลือกเพิ่มเติมในแถบที่อยู่ได้ด้วย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้นหาในแถบที่อยู่ ให้ดูที่ การค้นหาในแถบที่อยู่ของ Internet Explorer 9

การใช้ 'ตัวจัดการดาวน์โหลด'

'ตัวจัดการดาวน์โหลด' จะเก็บรายการแฟ้มที่คุณดาวน์โหลดไว้และแจ้งให้คุณทราบในกรณีที่แฟ้มนั้นอาจเป็นมัลแวร์ (ซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย) นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณสามารถหยุดการดาวน์โหลดไว้ชั่วคราวหรือเริ่มใหม่ได้ และแสดงตำแหน่งที่คุณจะสามารถพบแฟ้มที่ดาวน์โหลดนั้นได้ในคอมพิวเตอร์ของคุณด้วย
รูปภาพของ 'ตัวจัดการดาวน์โหลด'ตัวจัดการดาวน์โหลด
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 'ตัวจัดการดาวน์โหลด' ให้ดูที่ การใช้ 'ตัวจัดการดาวน์โหลด' ใน Internet Explorer

การทำงานกับแท็บ

คุณสามารถเปิดแท็บได้ด้วยการคลิกปุ่ม 'แท็บใหม่' ทางด้านขวาสุดของแท็บที่เปิดไว้ล่าสุด ใช้การเรียกดูแบบแท็บเพื่อเปิดเว็บเพจจำนวนมากในหน้าต่างเดียว เมื่อต้องการดูเพจแบบแท็บจำนวนสองเพจในเวลาเดียวกัน ให้คลิกที่แท็บ แล้วลากแท็บนั้นออกไปนอกหน้าต่าง Internet Explorer เพื่อเปิดเว็บเพจของแท็บนั้นในหน้าต่างใหม่
รูปภาพของเพจแท็บใหม่เพจแท็บใหม่
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแท็บและเพจแท็บใหม่ ให้ดูที่ การใช้เพจแท็บใหม่

การป้องกันข้อมูลของคุณขณะเรียกดูไซต์

Internet Explorer 9 นำเสนอคุณลักษณะ 'การป้องกันการติดตาม' และ 'การกรอง ActiveX' เพื่อรักษาความปลอดภัยและป้องกันความเป็นส่วนตัวให้กับข้อมูลของคุณขณะที่กำลังเรียกดูเว็บไซต์
  • ใช้ 'การป้องกันการติดตาม' เพื่อจำกัดการติดต่อสื่อสารระหว่างเบราว์เซอร์กับเว็บไซต์บางแห่งที่ถูกกำหนดไว้ใน 'รายการป้องกันการติดตาม' เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลของคุณให้เป็นแบบส่วนตัว รายการป้องกันการติดตามสามารถสร้างขึ้นโดยบุคคลใดก็ได้ และรายการเหล่านั้นก็จะพร้อมใช้งานในแบบออนไลน์
  • ActiveX เป็นเทคโนโลยีที่นักพัฒนาเว็บใช้ในการสร้างเนื้อหาแบบโต้ตอบบนไซต์ของตน แต่สิ่งนี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้ คุณสามารถใช้ Internet Explorer 9 เพื่อบล็อกตัวควบคุม ActiveX ของไซต์ทั้งหมด และเปิดใช้งานตัวควบคุมเหล่านั้นกลับคืนเฉพาะกับไซต์ที่คุณไว้ใจเท่านั้นได้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ให้ดูที่

ข้อมูลที่ไม่ได้ทำให้คุณทำงานช้าลง

แถบแจ้งเตือนใหม่ซึ่งปรากฏที่ด้านล่างสุดของ Internet Explorer จะให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสถานะเมื่อคุณต้องการ แต่ไม่ได้บังคับให้คุณต้องคลิกชุดข้อความเพื่อให้ทำการเรียกดูต่อไป
รูปภาพของแถบแจ้งเตือนแถบแจ้งเตือน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแถบแจ้งเตือน ให้ดูที่ Internet Explorer แถบแจ้งเตือน: คำถามที่ถามบ่อย