วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แนวโน้มในการใช้อินเทอร์เน้ต และ แบบฝึกหัด

จำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตในไทยเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะหลัง โดยการเข้าถึงเทคโนโลยีมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 12 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 7.6 ล้านราย ในปี 2548

แม้การเติบโตของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจะชะลอตัวลง แต่ปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความกว้างของช่องสัญญาณรับส่งข้อมูลมีการขยายตัวเพื่อรองรับกับความต้องการ ในขณะที่เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้รับการพัฒนาให้มีความเร็วมากขึ้น ขยายบริการความเร็วปกติไปสู่ความเร็วสูง ค่าบริการแนวโน้มต่ำลง บวกกับการพัฒนาคอนเทนต์(เนื้อหา)มีความหลากหลายเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจให้บริการอินเตอร์เน็ตมีการเปลี่ยนรูปแบบ โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทช.) ได้เริ่มให้ใบอนุญาตใหม่แก่ผู้ประกอบการ
ขณะที่ระดับความแพร่หลาย(penetration rate) ของการอินเตอร์เน็ตสามารถวัดได้จากจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศ
ซึ่งสามารถเปรียบเทียบกับต่างประเทศได้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปข้อมูลที่สามารถอธิบายความแพร่หลายของอินเตอร์เน็ตในไทย ดังนี้
  • ความแพร่หลายของการใช้อินเตอร์เน็ตของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอย่างสหรัฐและอังกฤษ ที่มีอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตราว 55% ของประชากรทั้งประเทศ เทียบกับแถบเอเชียด้วยกันอย่างเกาหลีใต้ อัตราการใช้สูงถึง 60% ของจำนวนประชากร และมาเลเซีย 34.41% ของจำนวนประชากร
  • มีการกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองมาก จากการเปรียบเทียบอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตต่อประชากรกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังพบการกระจุกตัวในกรุงเทพฯ
  • ปริมาณการไหลเวียนของข้อมูลสูงขึ้นและความเร็ว(bandwidth) ในการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้น มีการเติบโตถึง 60-90% ต่อปี

  
  • การใช้อินเตอร์เน็ตในสถานประกอบการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตัวเลขในปี 2547 นั้นมีสถานประกอบการ 8% ทั่วประเทศใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและการติดต่อสื่อสารอื่นๆ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีเพียง 4% ในปี 2545
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้คาดการณ์แนวโน้มของบริการอินเตอร์เน็ตในระยะปานกลางนับจากปี 2549-2551 ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
  • จำนวนผู้ใช้บริการใน 3 ปีข้างหน้า แนวโน้มการใช้อินเตอร์เน็ตในไทย ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประมาณการตัวเลขผู้ใช้บริการจะสูงถึงประมาณ 10.1 ล้านคนในปี 2551 อัตราการเติบโตประมาณ10% ต่อปี และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปในภูมิภาคมากขึ้น
  • กลุ่มที่มีการใช้อินเตอร์เน็ตมาก ยังคงเป็นกลุ่มนักเรียน/นักศึกษาและกลุ่มคนทำงาน คิดเป็น 6070% ของผู้ใช้ทั้งหมด เป้าหมายการใช้มุ่งไปเพื่อการเรียน ค้นคว้า และการสื่อสาร และกลุ่มผู้ใช้ในต่างจังหวัดจะมีจำนวนมากขึ้น
จำนวนผู้ให้บริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งจากกลุ่มให้บริการรายเดิมและรายใหม่
  • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีความเป็นไปได้มากว่า เทคโนโลยีการเชื่อมต่อโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะ 3-5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะในส่วนของความเร็วในการเชื่อมต่อสูงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น
  • การประยุกต์และเติบโตของการใช้บริการอินเตอร์เน็ตมีความเร็วเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมาย ทั้งในด้านการค้า ด้านการสื่อสาร ด้านการศึกษา และด้านความบันเทิงที่ได้รับความนิยมมาก จากที่ผ่านมาพัฒนาและเติบโตต่อเนื่อง โดยมีทั้งบริการจากภาครัฐและภาคเอกชน
โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าบริการอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มเติบโตขึ้นต่อเนื่อง ในปี 2551 ผู้ใช้บริการน่าจะสูงถึงกว่า 10 ล้านคน แม้เป็นตัวเลขประมาณการเบื้องต้น ซึ่งยังต้องอาศัยปัจจัยเกื้อหนุนอีกหลายประการคือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ราคาค่าบริการ การใช้อินเตอร์เน็ตไปในทางที่ไม่เหมาะสม ความพร้อมของเทคโนโลยี และมาตรการในการส่งเสริมการให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นไปอย่างทั่วถึง และบทบาทในการกำกับดูแลการให้บริการของ กทช.
ถ้ามีแนวทางดำเนินงานที่ดี ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรี และบริหาร จัดการมีต้นทุนต่ำที่จะมีผลต่อการเติบโตของบริการเป็นอย่างมาก


               แบบทดสอบ บทที่1

1. ข้อใดคือความหมายของคอมพิวตอร์
ก. เครื่องคำนวณอัตโนมัติ
ข. เครื่องใช้สำนักงานอัตโนมัติรุ่นใหม่
ค. อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์อย่างหนึ่ง
ง. เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง

2. คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร?

ก. การถอนเงินจากเครื่อง atm
ข. การจับจ่ายซื้อของในห้างสรรพสินค้าโดยใช้บัตรเครดิต
ค. การสำรองที่นั่งเครื่องบินสื่อสาร’
ง. ถูกทุกข้อ


3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สำคัญของคอมพิวเตอร์?
ก. มีความเร็วสูงในการประมวลผล
ข. มีความถูกต้องเชื่อถือได้
ค. เป็นระบบอนาลอก
ง. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และอัตโนมัติ

4. เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ทำงานด้วยระบบใด?
ก. Digital
ข. Analog
ค. Calculate
ง. Numerical

5. ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์คือข้อใด?
ก. เครื่องมีราคาแพงมาก
ข. ขาดแคลนบุคลากรทางคอมพิวเตอร์
ค. การทำงานขึ้นอยู่กัมนุษย์
ง. ถูกทุกข้อ

6. ก่อนที่หน่วยงานจะเลือกนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน หน่วยงานนั้นๆ จะต้องดำเนินงานในเรื่องใดก่อน?ก. จัดหาบุคลากรคอมพิวเตอร์
ข. วางระบบงาน
ค. จัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ง. ถูกทุกข้อ

7. สิ่งใดที่ไม่มีในเครื่องคอมพิวเตอร์?
ก. ความคิด
ข. ความจำ
ค. การควบคุมตนเอง
ง. การเปรียบเทียบเชิงตรรกะ

8. ข้อใดคือข้อดีของคอมพิวเตอร์?
ก. มีความเร็วสูง
ข. มีความเชื่อถือได้
ค. มีความถูกต้องแม่นยำ
ง. ถูกทุกข้อ

9. ในโรงงานอุตสาหกรรมนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานด้านใด?
ก. ควบคุมการผลิต
ข. การใช้หุ่นยนต์ในการทำงานที่เสี่ยงอันตราย
ค. การวางแผนการผลิต
ง. ถูกทุกข้อ

10.ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริการลูกค้าในเรื่องใด?
ก. บริการ ATM
ข. บริการด้านบัตรเครดิต
ค. บริการ ณ จุดขาย
ง. บริการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า


       เฉลย  1.ค 2.ง 3.ค 4.ก 5.ค 6.ก 7.ค 8.ค 9.ง 10.

หน่วยงานที่มีบทบาทในอินเทอร์เน็ตของไทย


 
    ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วย ดังนี้
  • การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%) รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
  • ISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง 17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ
  • ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย, EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล
  • THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AIT
  • NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย
  • ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย , บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)และบริษัทเอกชนอื่นๆ

บัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ต

บัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน


อาจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึงบัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ มีดังนี้
              1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
              2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
              3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
              4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
              5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
              6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
              7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
              8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
              9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำของท่าน
              10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
              จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ ของแต่ละ เครือข่าย จะต้องมีการวางระเบียบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ และเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น การปฏิบัติผิดกฎเกณฑ์ของเครือข่าย จะต้องตัดสิทธิ์การเป็นผู้ใช้ของเครือข่าย
              ในอนาคตจะมีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้สังคมอินเทอร์เน็ต สงบสุข หากมีการละเมิดอย่างรุนแรง กฎหมายจะเข้ามามีบทบาทต่อไป (โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย

ประโยชน์และโทษของอินเตอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเทอร์น็ต

อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนชุมชนเมืองแห่งใหม่ของโลก เป็นชุมชนของคนทั่วมุมโลก จึงมีบริการต่างๆเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา
    1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail
เป็นการส่งจดหมายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้ส่งสสามารถส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ ในรูปแบบของอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมาย แล้วส่งไปยังผู้รับ ผู้รับจะได้รับจดหมายภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย
   
2.กรขอเข้าระบบจากระยะไกลหรือเทลเน็ต(Telnet)
เป็นบริการอินเน็ตรูปแบบหนึ่งโดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียนทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียนแล้วกลับไปที่บ้าน เรามีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและต่ออินเตอร์เน็ตไว้เราสามารถเรียกข้อมูลจากที่โรงเรียนมาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง
   
3.การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol หรือ FTP) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
   
4.การสืบค้นข้อมูล(Gopher,Archie,World wide Web) หมายถึง การใช้เครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมายแล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารหัวข้ออย่างมีระบบ เป็นเมนู ทำให้เราหาข็อมูลได้ง่ายหรือสะดวกมากขึ้น
   
5.การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตน โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์และการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันมี Usenet มากกว่า15,000 กลุ่ม นับเป็นเวทีขนาดใหญ่ให้ทุกคนจากทั่วมุมโลกแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
   
6.การสื่อสารด้วยข้อความ(Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ไดัรับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
   
7.การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Eletronic Commerce) เป็นการจับจ่ายซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและให้บริการลูกค้าตลอด24ชั่วโมง ในปี2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง1แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น1ล้านล้านบาทในอีก5ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุรไม่มากนัก
   
8.การให้ความบันเทิง(Entertain) ในอินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทย อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เป็นต้น



โทษของอินเทอร์เน็ต
1.โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic) อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
การเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) ผู้ที่มีอาการอย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
  รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
  มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
  ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
  รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
  ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
  หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
  การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
  มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
  ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้

มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ

2.เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content) เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
3.ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้น ไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542

การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต

การประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ต
                          อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลกจึงมีผู้ใช้จำนวนมากเพราะการเชื่อมโยงของอินเตอร์ทำให้โลกไร้พรหมแดน  ข้อมูลข่าวสารจะติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็วได้มีการประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตกับงานอื่น ๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา
                                1.  Electronic  mail  หรือ  E-mail  เป็นการส่งข้อความติดต่อกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล    ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับการส่งจดหมายถึงกัน  แต่ปัจจุบันการส่งไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์จะส่งเป็นรูปของตัวเลขหรือระบบดิจิตอล   จึงสามารถส่งรูป
ภาพ
  เสียง  และภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย
                                2.  File  Transfer  Protocol    หรือ    FTP      เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน         ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างสถานีและนำไปใช้ประโยชน์ได้       เช่น        โปรแกรม  cuteFTP   โปรแกรม  wsFTP  เป็นต้น
                                3.  Telnet  การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย       ทำให้ติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการที่อยู่ห่างไกลได้ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม       เช่น  การส่งโปรแกรมหรือข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างประเทศผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง
                                4.  Search  engine  ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้งานจำนวนมาก  ฐานข้อมูลแต่ละอย่างอาจจะเก็บในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เป็นสิ่งพิมพ์  รูปภาพ  ผู้ใช้สามารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์  ฐานข้อมูลเป็นเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาได้  ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่า World  Wide  Web  หรือ  www  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงทั่วโลก
                                5.  USENET    การอ่านจากกลุ่มข่าวในอินเตอร์เน็ตจะมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่ม ๆ    แยกตามความสนใจ    ซึ่งสามารถส่งข้อความไปได้และผู้ใช้สามารถเขียนโต้ตอบได้
                                6.  Chat   การสนทนาบนเครือข่าย        เมื่ออินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อกันทั่วโลกผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้โดยการสนทนากันด้วยตัวหนังสือผ่านทางจอภาพ     ปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าที่มองเห็นหน้ากันด้วย
                                7.  การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย  เป็นการประยุกต์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น  มีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเตอร์หลายร้อยสถานี   และยังมีการส่งกระจายภาพวีดิทัศน์บนเครือข่ายได้ด้วย แต่ยังส่งข้อมูลจำนวนมากไม่ได้
                                8.  การบริการบนอินเตอร์เน็ต  ปัจจุบันมีมากมายเช่น  การเผยแพร่ข่าวสาร    ความรู้  การซื้อขายสินค้า การทำธุรกิจอิเลคทรอนิกส์  การช่วยสอน และอื่น ๆ ที่ผู้ใช้โต้ตอบได้

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทสไทย

ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)

เครือข่ายไทยเน็ต

ปี พ.ศ.  2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ

เครือข่ายไทยสาร
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
          ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ประเทศรัสเซียส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงได้รับรู้ว่า เทคโนโลยีชั้นสูงของประเทศยังล้าหลังกว่าของรัสเซีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหมจึงก่อตั้งหน่วยงานวิจัยชั้นสูงที่ชื่อว่า Advanced ResearchProjects Agency หรือที่รู้จักกันในนามของ ARPA
          ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ARPA ได้ให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เพื่อการทำวิจัยในหัวข้อเรื่อง เครือข่ายการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลางาน (Cooperative net-work of Time-Shared Computers) หลังจากนั้นอีก ๓ ปี กระทรวงกลาโหมก็ได้สนับสนุนโครง-การวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า ARPANETจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โครงการ ARPANETได้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ๔ แห่งเข้าด้วยกันในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เครือข่าย ARPANETขยายใหญ่ขึ้น และสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆได้ถึง ๒๓ เครื่อง
          จากการศึกษาเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จนถึงระยะเวลานั้น ผู้พัฒนาเครือข่ายหลายคนเริ่มเห็นปัญหาของการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลากหลายชนิด และหลากหลายผลิตภัณฑ์ จึงทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการเชื่อมโยง แนวความคิดที่จะสร้างระบบเปิดจึงเกิดขึ้น กล่าวคือ กำหนดมาตรฐานกลางที่ผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อสามารถจะเชื่อมโยงเข้าสู่มาตรฐานนี้ได้
          แนวคิดในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันและเชื่อมโยงในลักษณะวงกว้างเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ผู้พัฒนาเครือข่ายจึงสร้างโพรโทคอลใหม่ และให้ชื่อว่า TCP/IP (Trans-mission Control Protocol / Internet Protocol)และให้ชื่อเครือข่ายที่เชื่อมโยงโดยใช้โพรโทคอลนี้ว่า อินเทอร์เน็ต หลังจากนั้น โครงการARPANET ได้นำโพรโทคอล TCP/IP ไปใช้
          การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดำเนิน-การต่อมา ถึงแม้ว่าในช่วงหลัง กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการสนับสนุน และหันกลับไปทำวิจัยและพัฒนาเอง เครือข่ายนี้ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนามาตรฐานต่างๆเข้ามาใช้ประกอบร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้กลายเป็นมาตรฐานการสื่อสารที่ชื่อว่า TCP/IP และใช้ชื่อเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต(Internet)
          ต่อมาการบริหารและดำเนินงานเครือข่ายได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิการศึกษาวิทยา-ศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือที่ใช้ชื่อย่อว่าNSF (National Science Foundation) มีการตั้งคณะกรรมการเข้ามาบริหารเครือข่ายกลางที่เปิด  โอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาเชื่อมโยง และได้ดำเนินการจนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก

          สำหรับในประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ทำการเชื่อมโยงเพื่อส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลกับประเทศออสเตรเลียซึ่งทำให้มีระบบอิเล็กทรอนิกส์เมลเชื่อมต่อกันอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ต่อมาในวันที่ ๒๗กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าสายวงจรเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ก็ได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จนทำให้มีสถาบันออนไลน์กับอินเทอร์เน็ตเป็นกลุ่มแรก ได้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

          การพัฒนาเครือข่ายจึงเป็นไปตามกระแสการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบสากล มาตรฐานการเชื่อมโยงเป็นแบบโพรโทคอล TCP/IP ตามมาตรฐานนี้มีการกำหนดหมายเลขแอดเดรสให้แก่เครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีการสร้างเป็นลำดับชั้นเพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นระบบ แอดเดรสนี้จึงมีชื่อว่า ไอพีแอดเดรส (IP address)

 ไอพีแอดเดรสทุกตัวจะต้องได้รับการลงทะเบียน เพื่อจะได้มีหมายเลขไม่ซ้ำกันทั่วโลกการกำหนดแอดเดรสจะเป็นการกำหนดหมายเลขให้แก่เครือข่าย

ใช้เครือข่ายย่อยในเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจะเป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ตโดยปริยาย เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนสามารถเชื่อมโยงกับเครื่องอื่นๆได้ทั่วโลก ผู้ใช้งานอยู่ที่บ้านสามารถใช้คอมพิวเตอร์จากบ้านต่อผ่านโมเด็มมาที่เครื่องหลัก หลังจากนั้นก็จะเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายต่างๆได้ นิสิตนักศึกษาซึ่งอยู่ที่บ้านจะสามารถติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยหรือติดต่อกับเพื่อนๆได้ ทั้งในมหาวิทยาลัยและต่างมหาวิทยาลัย หรือในต่างประเทศ
อินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนคาดกันว่าในอนาคต เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าด้วยกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงได้ทุกมหาวิทยาลัย โดยมีการเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันในประเทศซึ่งจัดการโดยหน่วยบริการอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า ISP (Internet Service Provider)หน่วยบริการ ISP จะมีสายเชื่อมโยงไปยังต่างประเทศเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยได้เชื่อมโยงกัน โดยมีแกนกลางคือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และให้ชื่อเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยสาร(THAISARN - THAI Social / Scientific, Academicand Research Network) การเชื่อมโยงภายในประเทศทำให้ทุกเครือข่ายย่อยสาามารถเชื่อมโยงเป็นอินเทอร์เน็ตสากลได้

บทที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

ความหมายของอินเทอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต  (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า  “International network”  หรือ  “Inter Connection  network”  ซึ่งหมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน  เพื่อให้เกิดการสื่อสาร  และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน  โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน  นั่นก็คือ  TCP/IP Protocol  ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย  ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง  ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ  ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก
  ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือกำเนิดมาในยุคสงครามเย็น  ระหว่างสหรัฐกับรัฐเซีย ในปี ค.ศ. 1960   ซึ่งกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นว่าระบบคอมพิวเตอร์สำหรับสั่งการต้องเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานได้ตลอดเวลา  หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูที่เมืองใดเมืองหนึ่ง  ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจถูกทำลาย  แต่ส่วนที่เหลือทำงานได้  เป้าหมายการวิจัยและการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงกลายเป็นโครงการชื่อ ARPAnet หรือ Advance Research Project Agency net โดยมอบหมายให้กลุ่มมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ทำการวิจัยและเชื่อมโยงเครือข่าย